ข่าวเด่นการแพทย์ฉุกเฉิน
โครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารสาธารณะของเครือข่ายกู้ชีพเพื่อความปลอดภัยทางถนน โครงสร้างหลักสูตรนักสื่อสารกู้ชีพ
 

ดาวน์โหลดใบสมัครเข้าร่วมการอบรม คลิ๊กที่นี่


 


 

1.    หลักสูตร นักสื่อสารกู้ชีพ

2.      วัตถุประสงค์

·       เพื่อผลิตผู้ผ่านการอบรมที่มีความรู้สามารถและทักษะที่เกี่ยวกับการความปลอดภัยทางถนน และสื่อสารมวลชนเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัย และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สามารถชี้นำสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนนและการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม

3.      โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 2 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

·       หมวดวิชาความปลอดภัยทางถนน

·       หมวดวิชานิเทศศาสตร์

4.      รายวิชาในหลักสูตร

·       หมวดวิชาความปลอดภัยทางถนน             จำนวน  5          ชั่วโมง  แบ่งเป็น

1)       การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety)   จำนวน  3 ชั่วโมง

2)       การวิเคราะห์จุดอันตราย (Black Spot Analysis) จำนวน  2 ชั่วโมง

·       หมวดวิชานิเทศศาสตร์

1) การเขียนข่าวและสารคดีเชิงข่าวภาคทฤษฏีภาคปฏิบัติ12   ชั่วโมง

2) การถ่ายภาพประกอบข่าวเบื้องต้นจำนวน 2 ชั่วโมง

3) การทำสกู๊ปข่าวผ่านรูปแบบวีดีโอ  จำนวน 2ชั่วโมง

4) การทำสื่อสังคมออนไลน์Social Media จำนวน  5  ชั่วโมง

5)การเรียนรู้จริยธรรมในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกู้ชีพที่ไม่กระสิทธิของเหยื่อ  จำนวน 1ชั่วโมง

5.      คำอธิบายรายวิชา

5.1 หมวดวิชาความปลอดภัยทางถนน

หลักการ และความสำคัญของการจัดการความปลอดภัยทางถนน การวิเคราะห์ การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน การสืบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุจราจร การออกแบบและการจัดการความปลอดภัยเพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน การวิเคราะห์และการปรับปรุงแก้ไขจุดอันตรายบนถนน การวางแผนเพื่อความปลอดภัยทางถนน และการทำงานเชิงรุกด้านการป้องกันเพื่อความปลอดภัยทางถนน

·       สถานการณ์อุบัติเหตุในประเทศไทย ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต  

·       แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทย

5.1.1  ความปลอดภัยทางถนน (Road safety )

-         ความสำคัญของความปลอดภัยทางถนน ขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน การวิเคราะห์และสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อการดำเนินการเชิงรุกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ เพื่อการจัดการความปลอดภัยทางถนน

5.1.2  การวิเคราะห์จุดอันตราย (Black Spot Analysis)

-         หลักการการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุ การค้นหาและวิเคราะห์จุดอันตราย และแนวทางการแก้ไขจุดอันตราย เพื่อประยุกต์ใช้ในงานความปลอดภัยทางถนน

5.2  หมวดวิชานิเทศศาสตร์

5.2.1  การเขียนข่าวIntroduction to News Reporting

-         ความหมาย องค์ประกอบ และประเภทของข่าว คุณสมบัติ ความรับผิดชอบ และจริยธรรมของผู้สื่อข่าว การประเมินคุณค่าของแหล่งข่าว เน้นเทคนิคการสืยค้น และรวบรวมข้อมูล รวมทั้งฝึกเขียนข่าวเพื่อรายงานทางสื่อต่างๆ

5.2.2  การเขียนสารคดีเชิงข่าว

-         รูปแบบ หลักเกณฑ์การเขียนสารคดีเชิงข่าว การวางแผน การรวบรวมข้อมูล การคัดเลือกข้อมูล เทคนิคในการเขียนสารคดีให้ดึงดูดใจ การเลือกเรื่อง การใช้ภาพประกอบ การตั้งชื่อเรื่อง การหาแหล่งสำหรับนำเสนอผลงาน ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาในการทำงานสารคดี โดยเน้นการฝึกปฏิบัติและปลูกฝังจริยธรรม

5.2.3  การถ่ายภาพประกอบข่าวเบื้องต้น

-        หลักการถ่ายภาพเบื้องต้นเพื่อใช้ในการรายงานข่าว เกณฑ์ต่างๆ สำหรับประเมินคุณภาพผลงาน เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ การจัดแสงและฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพนิ่งเพื่อใช้ในงานรายงานข่าว

5.2.4  การจัดทำสกู๊ปข่าวผ่านรูปแบบวีดีโอเพื่อการสื่อสาร

          สาธารณะ

-  การเรียนรู้การนำเสนอข่าวผ่านรูปแบบการจัดทำคลิป

   วีดีโอข่าวสั้นเกี่ยวกับประเด็นด้านการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อ

    การสื่อสารสาธารณะ

5.2.5  การทำสื่อสังคมออนไลน์Social Media

-         การสร้างสื่อออนไลน์ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ กระบวนการผลิต รวมทั้งหลักในการจัดทำสื่อออนไลน์ การเป็นบรรณาธิการที่ดี มีจริยธรรม และฝึกการผลิตสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารสาธารณะ

6. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้ ได้คัดเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Key Information) ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฉุกเฉินในระบบ ตั้งแต่ผู้บริหารผู้ให้นโยบายในพื้นที่ และผู้ประสานงานในระดับจังหวัด ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ทั้งระดับสูงและขั้นพื้นฐาน ( ALS / BLS / FR)  รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนหรือการสื่อสารสาธารณะ  ดังนี้

•          กลุ่มผู้บริหาร  ประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อสารมวลชน จำนวน 1 รุ่นๆละ 150 คน เป็นระยะเวลา 1 วัน

•          กลุ่มผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เป็นผู้รับผิดชอบงานการแพทย์ฉุกเฉิน แพทย์ พยาบาล หรือผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในระบบ โดยแบ่งการอบรมเป็น 5 รุ่นๆละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน รุ่นละ 4 วัน ดังนี้

1.         ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 1 – 2 คน

2.         ผู้แทนจากโรงพยาบาลศูนย์ (ชุดปฏิบัติการระดับ ALS)  จำนวน 3 – 4 คน

3.         ผู้แทนจากโรงพยาบาลระดับอำเภอ หรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

(ชุดปฏิบัติการระดับALS/BLS)  จำนวน 3 – 4 คน

4.         ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ดูแลรับผิดชอบในพื้นที่

(ชุดปฏิบัติการระดับFR)  จำนวน 18 – 20 คน

 

7. พื้นที่ดำเนินการ

พื้นที่ที่ดำเนินการภายในโครงการ  พิจารณาโดยการใช้การสุ่มแบบเจาะจงพื้นที่ (Purposive Sampling) โดยสุ่มจากเส้นทางหลวงแผ่นดินของประเทศไทย ทั้งถนนสายหลัก 4 สาย และสายรอง 1 สาย ดังนี้

1.  ถนนพหลโยธิน (สายเหนือ) เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 โดยเริ่มต้นที่ อำเภอแม่พริก จังหวัดตาก ถึง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง รวมระยะทางได้ประมาณ 160 กิโลเมตร

2.  ถนนมิตรภาพ (สายตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 โดยเริ่มต้นที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ถึง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น รวมระยะทางได้ประมาณ 236 กิโลเมตร

3.  ถนนสุขุมวิท (สายตะวันออก) เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เริ่มต้นที่ อำเภอพัทยา จังหวัดชลบุรี  ถึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง รวมระยะทาง 125 กิโลเมตร

4.   ถนนเพชรเกษม (สายใต้) เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4

•          เริ่มต้นที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ถึง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 136 กิโลเมตร

•          เริ่มต้นที่ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ถึง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมระยะทาง 72 กิโลเมตร

5.   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด – มุกดาหาร) / ทางหลวงสายเอเซีย (AH1) เริ่มจาก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ถึง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  รวมระยะทาง 130 กิโลเมตร

 

ผู้จัดทำ : กลุ่มดิจิทัล
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000091
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001