คลังความรู้ บทความเด่น
ขอเชิญประกวดหัวข้อวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

งานวิจัยและดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  ส่งหัวข้องานวิจัยที่นี้

๑       หลัการ

           การพัฒนาด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยทั้งด้านบริหารจัดการและการจัดบริการให้มีมาตรฐาน บุคคลเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมตามวิสัยทัศน์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์เสนอแนะการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเชิงนโยบายระดับชาติและระดับพื้นที่ มีข้อมูลส่งเสริมหรือปรับปรุงกลยุทธ์ แนวทางปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งการวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ดำเนินการทั้งจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ภาคีเครือข่ายส่วนภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ด้วยกระบวนการวิจัยที่มีมาตรฐาน พัฒนาบุคลากร จึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ดังนั้น ในกระบวนการคัดเลือกและจัดลำดับหัวข้องานวิจัยครั้งนี้ นอกจากได้หัวข้องานวิจัยที่เกิดจากความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างหนึ่งแล้ว ยังเป็นการทำงานหรือทำวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและระดับพื้นที่ รวมทั้งเป็นการสร้างนักวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มากขึ้น 

๒       ประเด็นหรือทิศทางการวิจัย

           ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สพฉ. กำหนดประเด็นงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายตามหลักมิติ ๕ ค. ของเลขาธิการ สพฉ. ได้แก่ 

มิติครอบคลุม:

พัฒนาการเข้าถึงบริการในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกกฤตที่เป็นปัญหาหลัก เช่น รูปแบบที่เหมาะสมต่อการขยายความครอบคลุมพื้นที่ของบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน (fast tract) สำหรับผู้ป่วย STEMI, Stroke, Sepsis, Head Injury, Trauma เป็นต้น การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ

มิติด้านคล่องแคล่ว:

พัฒนาระบบและเพิ่มหน่วยบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อไปถึงผู้รับบริการอย่างรวดเร็วและปลอดภัย เช่น ศึกษาช่องว่างและการพัฒนาเพื่อเพิ่มการใช้บริการ ๑๖๖๙ การพัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการประเมินคัดกรอง (Triage)การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินรูปแบบอื่นๆ เช่น Motorlanceเป็นต้น

มิติด้านครบพร้อม ๒๔ ชั่วโมง:

พัฒนาเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความพร้อมทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ เช่น ระบบกลไกที่เหมาะสมต่อการสร้างความพร้อม ๒๔ ชั่วโมง ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินต่อ  ภัยพิบัติ เป็นต้น

มิติด้านคุณภาพ:

พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพการดำเนินการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยบริการทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ เช่น การปรับปรุงคุณภาพระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน๖โรคสำคัญการประเมินความเสี่ยงและความพร้อมของเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินในการจัดการสาธารณภัยตามรูปแบบ EIRRAmodel เป็นต้น

มิติด้านคุ้มครอง:

พัฒนาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินและสังคมรอบข้างขณะปฏิบัติงานและพัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัยของพาหนะฉุกเฉิน อุปกรณ์กู้ชีพ เช่น ศึกษาระบาดวิทยาการเจ็บป่วยของบุคลากรกู้ชีพและหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของ  ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เป็นต้น

กิจกรรม

ระยะเวลา

๑     ประชาสัมพันธ์

  • ทางเวปไซด์ สพฉ. และเวปไซด์หน่วยงานภาคีเครือข่ายอื่นๆ
  • ส่งจดหมายพร้อมแบบฟอร์มเอกสารส่งไปยังหน่วยงาน
  • ช่องทางอื่นๆ เช่น FB, Line group โทรศัพท์โดยตรง

ตั้งแต่วันนี้

ถึง ๓๐ มิ.ย. ๕๘

๒     รับหัวข้องานวิจัย

  • กรอกรายละเอียดผ่าน www.niems.go.th หรือ
  • กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มส่ง e-mail: teera.s@niems.go.th

๑๐-๓๐ มิ.ย. ๕๘

๓     ปิดรับหัวข้องานวิจัย

๑ ก.ค.๕๘

๔     ทบทวนและคัดเลือกหัวข้องานวิจัย (แบ่งหัวข้องานวิจัย ๒ ประเภท คือ งานวิจัยหลักและงานวิจัยในงานประจำ ประเภทละ ๑๐ เรื่อง รวม ๒๐ เรื่อง)

๑-๑๐ ก.ค.๕๘

๕     ประกาศผลหัวข้องานวิจัย (ประกาศผลหัวข้องานวิจัยผ่าน www.niems.go.th และประสานโดยตรงกับเจ้าของหัวข้อที่ผ่านการคัดเลือก)

๑๓ ก.ค.๕๘

๖     ทบทวนและเพิ่มเติมหัวข้องานวิจัย

  • สพฉ.ส่งหัวข้อวิจัยให้กับผู้ทบทวนภายนอกทั้ง ๒ ประเภท
  • ผู้ที่ได้รับรางวัล ทบทวนเอกสารและเพิ่มเติมรายละเอียดเป็นข้อเสนอแนวคิดวิจัยเบื้องต้น (concept paper)จำนวน ๒ หน้า ส่ง e-mail: teera.s@niems.go.thพร้อมกับเตรียมสไลด์นำเสนอ หัวข้อละ ๑๕ นาที

๑๐-๑๕ ก.ค.๕๘

๗     ประชุมจัดลำดับความสำคัญหัวข้องานวิจัย

  • ประชุมจัดลำดับหัวข้องานวิจัย แบ่งเป็น ๒ ห้อง งานวิจัยหลักและงานวิจัย R2R โดยมีผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะ และพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยปี ๒๕๕๙ ตามเกณฑ์คัดเลือกและผู้เชี่ยวชาญ (ตามประเภทงานวิจัย)
  • หัวข้องานวิจัยนำสู่กระบวนการดำเนินวิจัย ประเภทละ ๕ เรื่อง (รวม ๑๐ เรื่อง) สำหรับเรื่องอื่นๆ สำรองหรือหาวิธีการสนับสนุนให้ทำวิจัยด้วยวิธีหรือทุนอื่นๆ

๓-๗ ส.ค.๕๘

๘     ประกาศผลconcept paper ที่ได้รับคัดเลือกสนับสนุนทุนวิจัย (ประกาศผลหัวข้องานวิจัยทาง www.niems.go.th และประสานโดยตรงกับเจ้าของหัวข้อ)

๑๕ ส.ค. ๕๘

๙     พัฒนาข้อเสนอโครงร่างงานวิจัย (full proposal)  เข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาจำนวนงบประมาณในการสนับสนุนทุนวิจัย

ก.ย.-พ.ย.๕๘

เอกสารเพิ่มเติม

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

๑. นายธีระ ศิริสมุด,teera.s@niems.go.th, ๐๘๔-๓๖๐-๑๖๖๙

๒. นางสาวชนนิกานต์ สิงค์พยัคฆ์, chonnikant.s@niems.go.th, ๐๘๑-๘๑๔-๑๖๖๙

๓. นางพรทิพย์ วชิรดิลก, porntip.w@niems.go.th, ๐๘๑-๘๑๗-๑๖๖๙       

 

 

ผู้จัดทำ : กลุ่มดิจิทัล
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000001
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001