คลังความรู้ บทความเด่น
การแข่งขันทักษะการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปี 2559 (EMS Rally 2016)
                การแข่งขัน EMS Rally ระดับชาติ ครั้งที่ 6
กำหนดจัดลงทะเบียนเข้าแข่งขันและอบรมทางวิชาการเรื่อง การดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล
ปฐมนิเทศชี้แจงการแข่งขัน ในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 08.00 น. ถึง 16.30 น.
ณ อาคารสิริ วิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม 
จัดการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 07.00 - 16.30 น.
ณ อาคารหอประชุมใหญ่ มหิดลสิทธาคาร และ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิริรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม
 
 
 
สำหรับลงทะเบียนออนไลน์ EMS RALLY 2016 และคู่มือการลงทะเบียน
 
V
V
 
 
กฎกติกาที่ใช้ในการแข่งขัน
         กำหนดขึ้นจากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดการแข่งขัน EMS Rally ในระดับชาติ ทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา ในครั้งนี้ได้มีการประสานงานกับแพทย์อำนวยการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินโดยตรง มาร่วมกันเป็นกรรมการจัดการแข่งขัน รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับ EMS Competition จากต่างประเทศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้กำหนดกฎกติกาในการแข่งขัน EMS Rally ระดับชาติ ครั้งที่ 6 ดังนี้
 
1. ผู้เข้าแข่งขัน
ประกอบด้วย บุคลากรที่เป็นผู้แทนจากเครือข่ายบริการสุขภาพทั้งหมด 13 เครือข่าย รวม 13 ทีม โดยแต่ละทีมต้องมีผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (EMD) 1 คน ทีมเข้าแข่งขันแต่ละทีมจะประกอบด้วย
- ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (Emergency medical responder; EMR)
- ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (Basic life support; BLS) และ
- ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (Advance life support; ALS)
 
2. การจัดฐานแข่งขัน
ประกอบด้วย ฐานการแข่งขันด้านวิชาการ รวม 6 ฐาน และฐานพัก จำนวน 2 ฐาน โดยหมุนเปลี่ยนฐาน ดังนี้
(1) ฐานปฏิบัติการฉุกเฉินบูรณาการ จำนวน 6 ฐาน ทำการแข่งขันทั้ง 4 ระดับ ร่วมกันในเหตุการณ์จำลองเดียว
(2) ฐานพัก จำนวน 2 ฐาน
 
 
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน
3.1 แข่งขันหลังพิธีเปิด เริ่มแข่งขันพร้อมกันทั้ง 8 ฐาน เวลา 09.00 น.
(1) ฐานปฏิบัติการฉุกเฉินบูรณาการใช้เวลาฐานละ 30 นาที
(2) ฐานสันทนาการ ใช้เวลาฐานละ 30 นาที
(3) ให้เวลาเปลี่ยนฐาน ฐานละ 10 นาที
3.2 ผู้เข้าแข่งขันรับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่าง ในฐานที่แข่งขันตามเวลาที่กำหนด
 
4. ขั้นตอนในการแข่งขันแต่ละฐาน
4.1 ทีมแข่งขันเข้าฐาน รายงานตัวต่อคณะกรรมการ (ไม่ต้องแสดงท่า Boom ประจำทีม)
4.2 กรรมการประจำฐานแจ้งสถานการณ์และเงื่อนไขในการแข่งขันฐานนั้น
4.3 ทีมแข่งขันวางแผนการปฏิบัติการ กำหนดผู้ลงแข่งขัน และมอบหมายบทบาทหน้าที่สมาชิกทีม
4.4 ทีมแข่งขันเตรียมอุปกรณ์ที่คาดการณ์ว่าจะต้องใช้ในช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์ที่แข่งขัน
4.5 เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณจากคณะกรรมการ จึงจะเริ่มปฏิบัติการแข่งขันได้
4.6 ขณะแข่งขัน ให้ยึดข้อตกลงและปฏิบัติ
4.7 หยุดกิจกรรมการแข่งขันทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณจากกรรมการ
4.8 เดินทางไปยังฐานต่อไป
 
5. สถานการณ์จำลอง (Scenario) ที่ใช้ในการแข่งขัน
     โจทย์สถานการณ์จำลองการแข่งขัน EMS Rally เขียนเป็น realistic scenario จากเหตุการณ์ที่พบบ่อยในชีวิตจริงของการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ (Trauma) ผู้ป่วยฉุกเฉิน(Non-trauma) และสาธารณภัย (Disaster) ทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินชาวไทยและชาวต่างชาติโดยการปฏิบัติการทางบกทางน้ำ และทางอากาศ
 
6. พาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน  ทีมแข่งขันต้องเตรียมมาเองทั้งหมด ดังนี้
6.1 กระเป๋าฉุกเฉิน ALS ที่ต้องบรรจุอุปกรณ์ทุกชิ้นในกระเป๋า (อาจ 1 หรือ 2 ใบก็ได้)
6.2 กระเป๋าฉุกเฉิน EMR ที่ต้องบรรจุอุปกรณ์ทุกชิ้นในกระเป๋า
6.3 อุปกรณ์ splint
6.4 อุปกรณ์ยึดตรึงและเคลื่อนย้าย ได้แก่ cervical hard collar ขนาดต่างๆและชุด Long Spinal Board
6.5 วิทยุสื่อสาร
 
7. การประเมินการแข่งขัน
         ประเมินโดยกรรมการประจำฐานที่เป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ เฉพาะทางสาขาที่เกี่ยวข้องแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน อาจารย์และพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้าน EMSโดยการให้คะแนนการปฏิบัติได้ถูกต้อง ปลอดภัย เหมาะสม ในระยะเวลาพอเหมาะ
 
 
 
 
สอบถามเรื่องทั่วไป
ติดต่อที่ คุณพัชรี รณที  ผู้จัดการงานบริหารการสื่อสารสั่งการ
สำนักประสานการแพทย์ฉุกเฉินและเครือข่ายสัมพันธ์
โทร. 087-022-1669 หรือ E-mail Adress : patcharee.r@niems.go.th
 
การสอบถามเรื่องกฎกติกาการแข่งขัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
โทร. 089-472-6911 หรือ E-mail Adress : chaipool0634@hotmail.com
 

                                     

 

ผู้จัดทำ : กลุ่มดิจิทัล
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000010
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001