คลังความรู้ บทความเด่น
ประกาศผลหัวข้อที่ได้รับทุนวิจัย "โครงการวิจัยในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปี 2560"
         ตามที่หน่วยงานวิจัยและพัฒนา ได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิจัยและผู้ที่สนใจ ส่งโครงร่างวิจัยในประเด็นหัวข้อวิจัยที่สอดคล้องตามแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ ๒๕๖๐-๒๕๖๔  ตั้งแต่วันที่ ๑ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ ซึ่งมีจำนวนโครงร่างวิจัยทั้งสิ้น ๓๗ เรื่อง และได้จัดประชุมคัดเลือกและจัดลำดับหัวข้อวิจัยรอบสุดท้าย โดยคณะทำงานกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินและผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นั้น 

 

           บัดนี้ มีโครงร่างวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกและสนับสนุนทุนวิจัย จำนวน ๘ เรื่อง ดังเอกสารแนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้หน่วยงานวิจัยและพัฒนาจะประกาศผลการคัดเลือกดังกล่าว เพื่อให้นักวิจัยดำเนินการในขั้นตอนต่อไป 
 
 
 
 
ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปี 2560
 
>> สพฉ. กับงานวิจัย

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน ปี พ.ศ. 2551 โดยมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 15(4) ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ฉุกเฉิน และแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการวิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านวิชาการในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนั้น สพฉ. โดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนา จึงจัดทำโครงการสนับสนุนทุนวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางประเด็นวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อนำข้อมูลจากงานวิจัยพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในระดับนโยบาย และระดับพื้นที่ หรือแม้แต่การพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหน้างานต่อไป

 

>> ประเด็นวิจัย

          ประเด็นวิจัยในปี 2560 จะสอดรับเพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ที่แบ่งประเด็นตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตั้งแต่ Prevention Pre HospitalCare In Hospital Care Inter Facility Transfer และ Disaster Medicine อีกทั้ง ยังแบ่งประเด็นวิจัยตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย (ตามเอกสารแนบ 1) นอกจากนั้น ยังพบ Hot issue ที่ยังต้องการข้อมูลเชิงประจักษ์ อาทิ

-  รูปแบบและแนวทางการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเชื่อมกันระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิ(รพ.สต. หรือ PCU)  ประชาชนในพื้นที่ หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน หน่วยบริการทุตยภูมิ และตติยภูมิ เช่น การพัฒนา MINI ER In Primary health care Unit เป็นต้น

-  การพัฒนาเครื่องมือและแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ (Scene triage) สำหรับ FR

-  นวัตกรรมที่สนับสนุนระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ในกลุ่ม Fast tract (non-trauma) หรือเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่ไม่ใช้บริการ EMS) เป็นต้น

 

>> ขั้นตอนและเวลา

        

 

>> การส่งโครงร่างงานวิจัย และติดต่อประสานงาน

ส่งโครงร่างวิจัยที่เมล์ teera.s@niems.go.thติดต่อประสานงาน นายธีระ ศิริสมุด   

เบอร์โทรศัพท์ 084-3601669

 

>> เอกสารแนบ

1.       ประเด็นวิจัย 2560 ดาวน์โหลดที่นี่

2.       แบบเสนอโครงร่างงานวิจัย ดาวน์โหลดที่นี่

 

 

 

 

 

 

 

ผู้จัดทำ : กลุ่มดิจิทัล
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000137
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001