ศูนย์ข้อมูลการศึกษาและฝึกอบรม
สพฉ. แนะนำวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวขณะออกกำลังกาย - ปั่นจักรยาน

สพฉ. แนะนำวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวขณะออกกำลังกาย  ระบุผู้ป่วยกว่าร้อยละ 33 ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า  ย้ำต้องออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่หักโหม

ช่วงนี้กระแสการออกกำลังกายกำลังมาแรงโดยเฉพาะการปั่นจักรยาน  ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี  แต่การออกกำลังกายต้องออกอย่างเหมาะสม เพราะหากออกกำลังกายหักโหมเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดโดยโรคหัวใจล้มเหลว 

 

 

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)กล่าวว่า  โรคหัวใจล้มเหลว คือโรคที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน  ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 33 จะไม่มีอาการเตือน หรือบ่งบอกว่าจะเป็นโรค หรืออาจมีอาการเล็กน้อย คือ แน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมาทับไว้ที่กลางหน้าอก ซึ่งมักจะมีอาการนานเกิด 1 นาทีขึ้นไป ร่วมกับปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่ โดยเฉพาะไหล่ซ้าย นอกจากนี้บางรายอาจไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการเหนื่อย มีเหงื่อแตก   ใจสั่น  หน้ามืด เป็นลม หมดสติ  

ทั้งนี้การออกกำลังกายหนักๆ หรือการปั่นจักรยานจะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นและอาจมีการเต้นไม่สม่ำเสนอ ความดันเพิ่ม และเกิดการอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งการป้องกันคือเมื่อเริ่มมีอาการ หรือรู้สึกผิดปกติให้พัก และต้องหมั่นไปพบแพทย์ ที่สำคัญต้องลดปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า ส่วนการช่วยเหลือ หากเพื่อนที่ปั่นจักรยาน หรืออกกำลังกายมาด้วยกัน อยู่ดีๆ ล้มลง เริ่มแรกคือต้องพามาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เลี่ยงทางเดินหรือทางรถ หลังจากนั้นให้โทรสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเรียกคนมาช่วย และเริ่มทำการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ซึ่งการช่วยเหลือจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากช่วยเหลือร่วมกับการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจชนิดอัตโนมัติ หรือ เออีดี  ที่ขณะนี้ สพฉ. ได้รณรงค์ให้มีการติดตั้งในพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นแล้ว

โดยการกดนวดหัวใจ ให้จัดผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็งโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือลงไปตามแนวกึ่งกลางของหน้าอกหรือกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วยแล้วนำมืออีกข้างมาประกบ ประสานนิ้วและทำการล๊อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้นลง โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้น โน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย แขนตรงและตึง ออกแรงกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ จุดหมุนอยู่ตรงสะโพก กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกผู้ป่วยตลอดการนวดหัวใจ ส้นมือไม่หลุดออกจากหน้าอกผู้ป่วยด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อหน้าที  และทำไปเรื่อยๆ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000029
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001