ศูนย์ข้อมูลการศึกษาและฝึกอบรม
การสมัครสอบประมวลผลการบูรณาการปฏิบัติการฉุกเฉินรายยาวสำหรับ นฉพ. (Long case) ปีงบประมาณ 2562
ประกาศ
เรื่อง การสมัครสอบประมวลผลการบูรณาการปฏิบัติการฉุกเฉินรายยาวสำหรับ นฉพ. (Long case) ปีงบประมาณ 2562
 

 

           สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จะจัดให้มีการสอบประมวลผลการบูรณาการปฏิบัติการฉุกเฉินรายยาวสำหรับ นฉพ. เพื่อการให้ประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ประจำปีงบประมาณ 2562 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 – 31 มีนาคม 2562 โดยมีรายละเอียดการจัดสอบ ดังนี้

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่ อศป. รับรองในปี 2561

          1. จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

- จบปีการศึกษา 2560 จำนวน 11 คน (รุ่น 4)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

- จบปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน (รุ่น 5)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

- ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านในครั้งที่ผ่านมาจำนวน 4 คน (รุ่น 2,3)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

          2. จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

              - จบปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน (รุ่น 3)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

              - จบปีการศึกษา 2560 จำนวน 18 คน (รุ่น 4)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

              - จบปีการศึกษา 2560 ซ่อม 1 case จำนวน 2 คน (รุ่น 4)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

              - ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านในครั้งที่ผ่านมาจำนวน 20 คน (รุ่น 1,2)  >>ตรวจสอบรายชื่อ<<

ผู้ที่มีความประสงค์จะทำการสมัครสอบ สามารถทำการยื่นสมัครและส่งเอกสารการสมัครได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 15 ธันวาคม 2561 

ทาง E-mail : Wilasinee.a@niems.go.th  โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มการสมัคร         ได้ที่ >>คลิ๊กที่นี่<<

ข้อกำหนดในการสอบ

     1. นักศึกษาผู้เข้าสอบ จะต้องทำการสอบประมวลผลการบูรณาการปฏิบัติการฉุกเฉินรายยาว จำนวนคนละ 2 case  ดังนี้

         1.1 เป็น case ที่มีระดับการคัดแยกความฉุกเฉินเป็นในระดับ “สีแดง” ณ ที่เกิดเหตุ (Triage at scene) เท่านั้น (หากศูนย์ให้แดงแต่ที่ Scene เป็นสีอื่นก็ไม่นับ)

         1.2 ผู้เข้าสอบต้องเป็นหัวหน้าทีมในการออกปฏิบัติการใน case นั้นๆ

         1.3 เป็นการปฏิบัติการฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ กับผู้ป่วยจริง เท่านั้น

         1.4 ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบทำการสอบในผู้ป่วย case เดียวกัน (ผู้เข้าสอบแต่ละคนต้องทำการสอบกับผู้ป่วยที่ไม่ซ้ำกัน)

     2. อาจารย์ผู้ประเมิน มีคุณสมบัติ ดังนี้

         2.1 แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ แพทย์ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน (พอป.)

         2.2 แพทย์สาขาอื่น (ต้องมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ พอป. รับรองผล)

         2.3 พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน หรือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องฉุกเฉิน และมีประสบการณ์ด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างน้อย 5 ปี(ต้องมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ พอป. รับรองผล)

     3. ให้อาจารย์ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติการฉุกเฉินของนักศึกษาในแต่ละ case ตามแบบฟอร์มที่กำหนด และเมื่อทำการประเมินและให้คะแนนการประเมินเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้ง 2 case ขอความกรุณาเก็บผลการประเมินเป็นความลับ ห้ามเปิดเผยผลกับผู้สอบ และให้ส่งผลการสอบมายังสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (จ่าหน้าซองถึง คุณวิลาสินี อนันเต่า)

     4. อาจารย์ผู้ประเมินสามารถพิจารณาให้ยุติการสอบได้ตลอดเวลา หากพิจารณาแล้วว่าการปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้สอบนั้นมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งของตนเองและทีม

 

ผู้ประสานงาน สพฉ :

คุณวิลาสินี อนันเต่า

โทร 085-613-5704  หรือ 096-648-9388, 

Email : Wilasinee.a@niems.go.th    

 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000924
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001