คลังข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน
เปิดสถิติอุบัติเหตุ จากรถโดยสารสาธารณะ


ในภาวะเร่งรีบของหนุ่มสาววัยทำงานทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ความรวดเร็วคือสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะต้องการเพื่อให้ถึงจุดหมายทันเวลางาน ปัจจุบันมีระบบคมนาคมที่หลากทางเลือกให้ประชาชนได้ใช้บริการได้ตามความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถตู้โดยสาร รถโดยสารประจำทาง ทั้งหมดเพื่อรองรับกับจำนวนของประชากรให้สามารถใช้บริการได้อย่างเพียงพอตามการขยายตัวของสังคม 
          แต่เรื่องความปลอดภัยก็ต้องเป็นปัจจัยสำคัญในลำดับแรกของงานบริการแก่ผู้โดยสาร เพราะหากคนขับรถไม่พร้อม มีอาการมึนเมา ขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนด ขับรถหวาดเสียว นั่นอาจส่งผลเสีย นอกจากนี้คุณภาพรถหากไม่มีการดูแลรักษาตามระยะเวลาของเครื่องยนต์ อาจเป็นอุปสรรคปัญหาในระหว่างขับขี่ได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุ รถยางแตกพลิกคว่ำ เป็นต้น ทั้งหมดส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับรถตู้โดยสารสาธารณะที่มีให้บริการแทบทุกจุดของกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ด้วยความสะดวกรวดเร็ว 
          ทั้งนี้จากผลการรวบรวมข้อมูลของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในช่วงปี 25542556 พบว่า “รถตู้สาธารณะ” ซึ่งเป็นยานพาหนะยอดฮิตของคนยุคปัจจุบัน มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุนำโด่งอย่างน่าตกใจ เฉลี่ยการตาย 6 ศพต่อเดือน ซึ่งหากไล่เรียงลำดับรถบริการสาธารณะนั้น รถแท็กซี่เฉลี่ย 2 เปอร์เซ็นต์ รถรับส่งพนักงาน 7 เปอร์เซ็นต์ รถโดยสารระหว่างจังหวัด 7 เปอร์เซ็นต์ รถเมล์ 8 เปอร์เซ็นต์ รถโดยสารนำเที่ยว 16 เปอร์เซ็นต์ รถโดยสารปรับอากาศ 30 เปอร์เซ็นต์ และรถตู้โดยสาร 31 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่อุบัติเหตุที่เกิดจากรถตู้จะเสียชีวิตและบาดเจ็บทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุบนผิวการจราจร 

ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 
 | วันที่ 05/03/2557

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000083
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001