เมื่อวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งยุโรป EASA ได้เชิญผู้แทนจาก สถาบันการแพทย์(สพฉ.) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และบริษัทการบินเอกชนเข้าร่วมประชุมหารือการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางเฮลิคอปเตอร์ Helicopter Medical Services : HEMS ในประเทศไทยโดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป EU COMMISSION ณ เมืองโคโลญจน์ สหพันธรัฐเยอรมัน
โดย ร.อ.นพ. อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. และ น.อ.(พิเศษ) นพ.พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง ได้เดินทางเข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ยังได้รับเชิญให้เข้าเยี่ยมชม ศูนย์รับแจ้งและสั่งการ 112 EMS dispatch center เยี่ยมชมศูนย์ ADAC HEMS Academy และเยี่ยมชมการปฏิบัติการ HEMS ของโรงพยาบาลแห่งเมือง Mainz และเมือง BONN ประเทศเยอรมัน
เลขาธิการ สพฉ. ได้กล่าวถึงการไปเข้าร่วมประชุมและเยี่ยมชมการดำเนินงานในครั้งนี้ว่า เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการดำเนินงานพัฒนาระบบเฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉิน Helicopter EMS หรือ HEMS ที่มีมาตรฐานมาอย่างยาวนาน ซึ่งตนและคณะ ได้เยี่ยมชมศูนย์ 112 EMS dispatch center ที่ทำงานคล้าย 1669 dispatch center ของประเทศไทย แต่ในเยอรมันสามารถ dispatch ทั้ง EMS ambulance และ fire and rescue ถ้าเป็นการแจ้งตำรวจจะใช้อีกเบอร์คือ 110 ที่นี่ทำงาน 24 ชั่วโมง ถ้าในอนาคตของประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดต่างๆ รับดำเนินงานเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ตนมองว่าก็น่าจะรวมเอาเหตุไฟใหม้ หรือกู้ภัย มารวมในการจ่ายงานด้วย
สำหรับการพัฒนาระบบ HEMS ของประเทศเยอรมัน ที่นี่มี ศูนย์ ADAC HEMS Academy ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการพัฒนาระบบ HEMS ของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ADAC ให้บริการ 37 HEMS base จากทั้งหมด 80 HEMS base ของเยอรมัน เปิดดำเนินการมากว่า 40 ปีแล้ว ปีที่ผ่านมาให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 50,000 เคสต่อปี จากทั้งหมด100,000 เคสต่อปี ADAC academy เป็นศูนย์ฝึกทั้งนักบิน และทีมแพทย์ฉุกเฉินที่มีมาตรฐานสูงมาก ในอนาคต สพฉ.จะมีความร่วมมือกับ ADAC ในการพัฒนาบุคลากรด้าน HEMS ต่อไป
นอกจากนี้ โรงพยาบาลปลายทางเพื่อการรองรับผู้ป่วยจาก HEMS โดย Bonn University hospital ได้เปลี่ยนจากลาน ฮ. ภายนอกอาคาร ที่ต้องใช้รถพยาบาลรับส่งต่อ มาเป็นการทำดาดฟ้าลาน ฮ.ที่ได้มาตรฐาน อยู่ด้านบนอาคารโรงพยาบาล ซึ่งช่วยลดระยะเวลาทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินถูกส่งถึงการรักษาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สิ่งนี้ยืนยันได้ว่าการพัฒนาลานจอดบนอาคารของโรงพยาบาลในประเทศไทยก็สามารถทำได้และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นอย่างยิ่ง ส่วนในโรงพยาบาลเมือง Mainz เป็นที่ตั้งของ ฐานปฏิบัติการ Christoph 77 HEMS base at University of Mainz ที่มีความพร้อมตามมาตรฐานของ ADAC มีแพทย์ฉุกเฉินที่เป็นเฉพาะทางด้านวิสัญญีแพทย์ พร้อมออกปฏิบัติการทันทีที่ได้รับแจ้งจาก 112 EMS dispatch center ร่วมกับรถพยาบาลฉุกเฉิน
การเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า ผู้แทนจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) จะนำเอาแนวคิดและรูปแบบไปพัฒนาระบบ HEMS ของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมและมีมาตรฐาน อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเท่าเทียมต่อไป

#HEMS #Thai_Skydoctor #สพฉ1669 #NIEM1669