เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

เปิดงาน EMS Forum 2023 สพฉ. ยกระดับนวัตกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน หนุนนโยบายนักท่องเที่ยวปลอดภัย

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ถนนแจ้งวัฒนะ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ “การวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน” National EMS Forum 2023 : Research and Innovation on Emergency Medicine ซึ่งจัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเครือข่ายผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินจากทั่วประเทศกว่า 3,000 คน

นายสันติ กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ การเข้าถึงการรักษาเฉพาะทางได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที มุ่งให้เกิดความครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียมของการได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนไทยทุกคน การวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรฐานระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับสากล นอกจากนั้นตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการยกระดับโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างครบทุกมิติ จึงได้มีการกำหนด Quick Win 100 วัน ประเด็นที่ 13 ก็คือ นักท่องเที่ยวปลอดภัย ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉินจะเข้ามามีบทบาทในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ

การประชุมวิชาการครั้งนี้ เป็นการรวมตัวของภาคีเครือข่าย นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา ด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากทั่วประเทศ รวมทั้งผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นเวทีประชุมวิชาการ การนำเสนอผลงานและการจัดนิทรรศการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปขับเคลื่อนและพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในภาคส่วนต่างๆ ต่อไป

ด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า สพฉ. เข้าร่วมเป็นหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ววน. และได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่องานมูลฐาน หรือ fundamental fund จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. 2564-2566 สพฉ. มีการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้น ทั้งที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า และดำเนินการวิจัยจากบุคลากรภายในสถาบันฯ และภาคีเครือข่าย และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบายและการพัฒนาระบบบริการในระดับพื้นที่ และในการนี้เอง เพื่อให้เกิดการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่ายวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จึงได้มีการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้น ซึ่งในปีนี้ มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมมากมายที่สามารถนำไปต่อยอดในการใช้เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

นอกจากนี้ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข Quick Win 100 วัน ประเด็นที่ 13 นักท่องเที่ยวปลอดภัย โดยการจัดตั้งทีมการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ หรือ Sky Doctor ให้มีครบทุกเขตสุขภาพทั่วประเทศ (One Region One Sky Doctor : OROS) ให้เห็นผลใน 100 วัน ในงานวันนี้ก็จะมีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่มีบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนนโยบาย และพิธีมอบหนังสืออนุมัติให้เป็นหน่วยปฏิบัติ ฉุกเฉิน ระดับเฉพาะทาง สาขาฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ จำนวน 20 หน่วย จาก 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการยืนยันความสำเร็จในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว

#EMSForum #การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ #ครั้งที่15 #การวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน #การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน #SkyDoctor #OROS #ภาคีเครือข่าย #EMS #สพฉ #niems #สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ #เจ็บป่วยฉุกเฉินโทร1669

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 3 ทั้งหมด 325