ประกาศความเป็นส่วนตัว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
บทนำ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (“สพฉ.”) ตระหนักและให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดย สพฉ. จะดูแลและบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยประกาศความเป็นส่วนตัวนี้ (“ประกาศ”) จะแจ้งให้ท่านทราบถึงวิธีการที่ สพฉ. เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย และปกป้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดย สพฉ. ได้จัดทำประกาศนี้ เพื่อกำหนดหลักการและหลักปฏิบัติกลาง (main notice) และด้วย สพฉ. มีการดำเนินกิจกรรมและการให้บริการที่หลากหลาย สำหรับการดำเนินกิจการกับบุคคลภายนอก และสำหรับการดำเนินกิจการภายใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายของ สพฉ. ดังนั้น แต่ละกิจกรรมหรือบริการของ สพฉ. อาจจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลของท่าน ที่มีรายละเอียดเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดย สพฉ. มีการจัดทำประกาศความเป็นส่วนตัวย่อยของแต่ละกิจกรรมหรือบริการเหล่านั้น ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันในสาระสำคัญระหว่างความในประกาศความเป็นส่วนตัวในแต่ละกิจกรรมหรือบริการ กับประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ให้ถือตามความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของกิจกรรมหรือบริการนั้นๆ เป็นสำคัญ
โดยรายชื่อกิจกรรมหรือบริการต่างๆ จะปรากฏอยู่ในข้อ 4. สพฉ. ขอแนะนำให้ท่านอ่านและทำความเข้าใจประกาศนี้ รวมถึงประกาศความเป็นส่วนตัวย่อยของแต่ละกิจกรรมหรือบริการที่ท่านต้องการเข้าร่วมหรือใช้บริการ ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับ สพฉ.
หากท่านมีข้อกังวล ข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศนี้ตลอดจนถึงประกาศและนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โปรดติดต่อ สพฉ. ได้ตามช่องทางการติดต่อที่ปรากฏท้ายประกาศนี้
ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด รหัสส่วนตัว รูปภาพ หรือวีดีโอที่บันทึกจากกล้องวงจรปิด (CCTV) เป็นต้น
ข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data) ด้วยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้มีการกำหนดข้อมูลบางประเภทให้เป็นข้อมูลอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ความคิดเห็นทางการเมือง ความพิการ ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น และการเก็บรวบรวมจะทำได้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมถึงอาจต้องได้รับความยินยอมจากท่าน ดังนั้น สพฉ. จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลอ่อนไหวเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และ สพฉ. จะแจ้งให้ท่านทราบอย่างชัดแจ้งถึงเหตุผลความจำเป็น รวมถึงอาจดำเนินการขอความยินยอมจากท่านเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวในบางกรณี
ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลไร้ความสามารถ (“บุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถทางกฎหมายในการทำธุรกรรม”) สพฉ. จะทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถทางกฎหมายในการทำธุรกรรมเฉพาะกรณีเท่าที่จำเป็นและตามแนวทางที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด โดยในกรณีที่ สพฉ. มีความจำเป็นจะต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถทางกฎหมายในการทำธุรกรรมสำหรับกิจกรรมใด สพฉ. จะดำเนินการขอความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล ที่มีอำนาจกระทำการแทนบุคคลดังกล่าว (แล้วแต่กรณี) ด้วย เว้นแต่เป็นกรณีขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นการเฉพาะตัวหรือเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพอันสมควร ซึ่งผู้เยาว์ดังกล่าวสามารถให้ความยินยอมโดยลำพังได้
สพฉ. เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่ออะไร
สพฉ. อาจมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อ
- ให้ท่านเข้าใช้บริการหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ สพฉ.
- ให้ สพฉ. สามารถให้ความช่วยเหลือ ตอบข้อซักถามหรือข้อร้องเรียนของท่าน
- สำรวจและรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ และการดำเนินภารกิจของ สพฉ. โดยมีการวิเคราะห์และสรุปเป็นข้อมูลในภาพรวมที่ไม่เปิดเผยตัวตน
- วิเคราะห์ ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงการให้บริการและการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้ท่านได้รับความสะดวกสบายและได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นในการเข้าใช้บริการของ สพฉ.
- สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน และคณะอนุกรรมการต่างๆ ของ สพฉ.
- รับสมัครงาน
- จัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุของ สพฉ.
- รับเงิน จ่ายเงิน หรือการดำเนินการใดๆ ด้านการเงินและการบัญชีของ สพฉ.
- ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข้อมูลข่าวสารของ สพฉ. ให้กับท่านทราบ ตลอดจนเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ สพฉ.
- ป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดย สพฉ. อาจมีการตรวจสอบข้อมูลที่เก็บรวบรวม รวมถึงข้อมูลในกล้อง CCTV เพื่อสอดส่องดูแล ตรวจจับ และป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย
- ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่กฎหมายของ สพฉ. หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้ สพฉ. ต้องปฏิบัติ
เหตุใด สพฉ. จึงมีการเก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านนั้น สพฉ. จะดำเนินการเท่าที่จำเป็นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนดหลักการและเหตุผลทางกฎหมายไว้หลายประการตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอนุญาตให้ สพฉ. ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายนี้สามารถดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้
ทั้งนี้ โดยทั่วไป สพฉ. จะเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เมื่อมีฐานทางกฎหมายรองรับ ดังนี้
- ท่าน หรือผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายของท่านให้ความยินยอม (Consent)
- เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านได้เข้าผูกพันกับ สพฉ. หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญากับ สพฉ. (Contract)
- เป็นการจำเป็นในการปกป้องหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล (Vital Interest)
- เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของ สพฉ. หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ สพฉ. (Public Task / Official Authority)
- เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของ สพฉ. หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน (Legitimate Interest)
- เป็นการจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของท่าน ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด (Scientific or Research)
- เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Legal Obligation)
- โดยดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น สพฉ. มีการดำเนินกิจกรรมและการให้บริการที่หลากหลาย เพื่อให้บริการภายนอก และเพื่อการดำเนินกิจการภายใน โดยแต่ละกิจกรรมหรือบริการเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลของท่าน ที่แตกต่างกัน โดยลิงก์กิจกรรมหรือบริการต่างๆ ด้านล่างนี้ จะอธิบายและให้รายละเอียดกับท่านเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลของท่านที่แต่ละกิจกรรมหรือแต่ละบริการมีการดำเนินการ
สิทธิของท่านในข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในการได้รับแจ้ง สพฉ. จะมีการแจ้ง "ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)" ที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ในการประมวลผลที่ชัดเจน รวมถึง "ประกาศการใช้คุกกี้ (Cookie Notice)" ที่แสดงถึงประเภทเทคโนโลยีคุกกี้ที่ สพฉ. มีการใช้ รวมถึงวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีคุกกี้เหล่านั้นและในกรณีที่ สพฉ. มีการประมวลผลข้อมูลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือที่นอกเหนือความยินยอมใดๆ ที่ได้ให้ไว้ สพฉ. จะแจ้ง และ/หรือขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่นอกวัตถุประสงค์ดังกล่าว
- สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม เจ้าของข้อมูลสามารถขอเพิกถอนความยินยอมที่เคยให้ สพฉ. ไว้ได้ทุกเมื่อ
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เจ้าของข้อมูลสามารถขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง และขอสำเนาข้อมูลกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนสามารถขอให้ สพฉ. เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้
- สิทธิในการแก้ไขข้อมูล เจ้าของข้อมูลสามารถขอปรับปรุงแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องได้ เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
- สิทธิในการลบข้อมูล เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ สพฉ. ลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้
- สิทธิในการโอนข้อมูล ในกรณีที่ระบบข้อมูลของ สพฉ. รองรับการอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานอัตโนมัติ และสามารถใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้ รวมถึงขอให้มีการโอนถ่ายข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลอื่นโดยอัตโนมัติได้ และขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการส่งหรือโอนดังกล่าวได้
- สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ สพฉ. ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้
- สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูล เจ้าของข้อมูลสามารถขอคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้
- ทั้งนี้ ในบางกรณี สพฉ. อาจปฏิเสธคำขอใช้สิทธิข้างต้นได้ หากมีเหตุอันชอบธรรมด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์เหรือกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือเป็นกรณีที่อาจส่งผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลหรือบุคคลอื่น
- หากท่านมีความประสงค์ที่จะใช้สิทธิดังกล่าว ท่านสามารถติดต่อ สพฉ. ได้ตามช่องทางการติดต่อที่ปรากฏท้ายประกาศนี้
สพฉ. มีการเปิดเผยข้อมูลของท่านกับใครบ้าง
- กรณีที่ สพฉ. เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หรือเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการตามหมายศาล คำสั่งศาล หรือกระบวนการยุติธรรม
- เป็นการแบ่งปันข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เชื่อถือได้ ซึ่งทำงานในนามหรือทำงานให้ สพฉ. ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ให้มั่นใจว่าหน่วยงานดังกล่าวจะมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเช่นเดียวกับ สพฉ.โดยการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวอาจมีทั้งกรณีการจัดเก็บข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบบริการแก่ท่าน หรือเพื่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของ สพฉ. เช่น การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล การประชาสัมพันธ์และการตลาด เป็นต้น
- กรณีที่ สพฉ. เชื่อโดยสุจริตและมีเหตุผลที่ดีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ สพฉ. เห็นว่าสำคัญยิ่งกว่าการปกป้องความเป็นส่วนตัวของท่าน และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่
- เพื่อการสืบสวน สอบสวน และระงับเหตุอาชญากรรม การทุจริต การฉ้อโกง หรือ
- เพื่อป้องกันหรือรับมือกับภัยคุกคามตลอดจนการกระทำที่อาจสร้างความเสียหายต่อสิทธิ ทรัพย์สิน หรือความปลอดภัยของสาธารณะ รวมถึงของ สพฉ. และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ
- เพื่อป้องกันหรือรับมือการกระทำที่ละเมิดต่อข้อตกลงการใช้บริการของ สพฉ. หรือต่อกฎหมาย
สพฉ. มีการปกป้องดูแลข้อมูลของท่านอย่างไร
- กำหนดมาตรการป้องกันทางกายภาพ และการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลไว้เฉพาะพนักงานของ สพฉ. ที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ (Need to Know Basis)
- กำหนดมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบและข้อมูล เช่นการใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบการให้บริการเป็นต้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
- มีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ที่มีชั้นความลับเพื่อให้ข้อมูลไม่สามารถถูกเปิดอ่านได้จากผู้ที่ไม่มีสิทธิ
- กำหนดกระบวนการทำงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับปัญหาหรือเหตุอันน่าสงสัยว่าจะมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยหากเกิดเหตุดังกล่าว สพฉ. จะรีบแจ้งท่านทราบโดยเร็ว รวมถึงแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลเรื่องนี้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้ง
- มีการอบรมพนักงานของ สพฉ. เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานในการดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับปัญหาหรือเหตุอันน่าสงสัยว่าจะมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- ทบทวนกระบวนการทำงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
- ตรวจสอบ ทดสอบระบบที่มีการจัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่าระบบหรือเทคโนโลยีที่ใช้มีความมั่นคงปลอดภัย และมีการปรับปรุงและติดตั้งซอฟต์แวร์การจัดการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเวอร์ชันล่าสุดแล้ว (Update Patches)
การจัดเก็บและโอนข้อมูล
สพฉ. มีการจัดเก็บ ใช้และประมวลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนระบบที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การโอนข้อมูลดังกล่าวเพื่อจัดเก็บหรือประมวลผลในบางกรณีอาจเป็นการดำเนินการข้ามพื้นที่หรือข้ามประเทศ โดย สพฉ. จะมีการตรวจสอบเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าการโอนข้อมูลเป็นไปอย่างปลอดภัย และผู้รับโอนข้อมูลมีมาตรการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีการจัดทำสัญญากับบุคคลที่สามที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการโอนข้อมูล จัดเก็บหรือประมวลผล เพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ สพฉ. กำหนด
ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
สพฉ. จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็น เพื่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการภายใต้วัตถุประสงค์โดยชอบด้วยกฎหมายของ สพฉ. โดยระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีทั่วไปจะเก็บไม่เกิน 10 ปี แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอาจมีความแตกต่างกันตามประเภทของกิจกรรมและบริการ ซึ่งท่านสามารถดูรายละเอียดได้จากแต่ละบริการและกิจกรรมในข้อ 4. อย่างไรก็ดี สพฉ. อาจจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเกินระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือมีเหตุที่ สพฉ. ได้รับแจ้งหรือเชื่อโดยสุจริตได้ว่าอาจมีการกระทำละเมิดข้อตกลงการใช้บริการของ สพฉ. หรือมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเกิดข้อพิพาท และจำเป็นต้องมีการสืบสวน สอบสวน ตลอดจนรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดย สพฉ. จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็นจนกว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้น หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นกำหนด
การเชื่อมโยงไปยังบริการของบุคคลภายนอก
บางบริการของ สพฉ. อาจมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือบริการอื่นที่เป็นของบุคคลที่สาม ซึ่ง สพฉ. มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับท่านเท่านั้น หากท่านใช้การเชื่อมโยงดังกล่าว ท่านจะออกจากบริการของ สพฉ. โดย สพฉ. ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือสามารถตรวจสอบ หรือควบคุมความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในเว็บไซต์แอปพลิเคชัน หรือบริการเหล่านั้นและโดยประกาศนี้ใช้เฉพาะสำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือให้บริการของ สพฉ. เท่านั้น หากท่านใช้การเชื่อมโยงดังกล่าวเพื่อออกไปยังบริการของบุคคลที่สาม ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของประกาศนี้ สพฉ. ขอแนะนำให้ท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายหรือประกาศเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริการเหล่านั้นก่อนการใช้บริการ
การทบทวนและปรับปรุงประกาศ
สพฉ. อาจมีปรับปรุงประกาศนี้ รวมถึงประกาศความเป็นส่วนตัวย่อยของกิจกรรมหรือบริการเป็นครั้งคราว เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาจะมีความเหมาะสม เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หาก สพฉ. มีการปรับปรุงแก้ไขประกาศนี้ สพฉ. จะแสดงประกาศเวอร์ชันล่าสุดไว้ที่เว็บไซต์นี้ และอาจจะแจ้งให้ท่านทราบผ่านช่องทางต่างๆ ตามความเหมาะสม สพฉ. ขอแนะนำให้ท่านหมั่นเข้ามาอ่านและตรวจสอบประกาศนี้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะก่อนที่ท่านจะส่งข้อมูลส่วนบุคคลผ่านบริการของ สพฉ. ทั้งนี้ หากท่านยังคงใช้บริการของ สพฉ. ภายหลังจากที่ประกาศนี้มีการปรับปรุงแก้ไขและได้มีการแสดงประกาศไว้ที่นี้แล้ว ถือว่าท่านเห็นชอบและยอมรับในประกาศฉบับที่ปรับปรุงแล้ว
ติดต่อสอบถาม
หากท่านมีข้อสงสัย หรือเสนอแนะข้อคิดเห็น ข้อติชม หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดในประกาศนี้ ท่านสามารถติดต่อ สพฉ. ได้ที่
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- สถานที่ติดต่อ: 88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
- ช่องทางการติดต่อ อีเมล: pr@niems.go.th โทรศัพท์ 02 872 1600 โทรสาร 02 872 1604
สพฉ. จะพยายามอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือ แก้ไขข้อกังวลและปัญหาต่างๆ ที่ท่านแจ้งมายัง สพฉ.
นโยบายนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป