เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

EMS RALLY ฝึกปฏิบัติการกู้ชีพระดับประเทศ

“ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น เตรียมเครื่องกระตุ้นหัวใจ”

“มีผู้ได้รับบาดเจ็บตกจากที่สูง มีแผลไฟไหม้” ..... เตรียมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล !!!!

                                                                     

           เสียงของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรือทีมกู้ชีพ กำลังปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน เพียงแต่ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์  สมมติที่จำลองขึ้นมาให้เหมือนสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ฝึกปฏิบัติการกู้ชีพและเพิ่มทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยในสถานการณ์ต่างๆ

          การฝึกปฏิบัติกู้ชีพ หรือที่เรียกกันว่า Emergency Medical Services RALLY “EMS RALLY”แม้จะเคยมีการจัดขึ้นในระดับเขตต่างๆ มาแล้วหลายครั้ง แต่ในวันที่ 6 มีนาคม 2554ถือเป็นครั้งแรกที่จะจัดขึ้นในระดับประเทศ ที่สนามกีฬา ในกระทรวงสาธารณสุข

           สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้เชิญทีมกู้ชีพจากเขตต่างๆ ทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร รวม19 ทีม ซึ่งชนะการแข่งขันคัดเลือกระดับเขตให้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย แบ่งเป็นการแข่งขันใน 2 ระดับ คือ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR)

            ทั้งนี้ในแต่ละทีมจะประกอบด้วยแพทย์ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน เวชกรฉุกเฉินระดับต้น (EMT-I) หรือเวชกรฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-B) 3 คน และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) 4 คน โดยจัดฐานการแข่งขันทั้งหมด 19 ฐาน แบ่งเป็นฐานวิชาการ ฐานสันทนาการ

 

 

          นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ อธิบายเพิ่มเติมว่า การฝึกปฏิบัติการกู้ชีพจะนำไปสู่การปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ อีกทั้งทำให้ทีมกู้ชีพได้เรียนรู้ในการออกปฏิบัติการท่ามกลางสภาวะการกดดันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบาก สภาพภูมิอากาศที่บางครั้งอาจจะไม่เอื้ออำนวย ท่ามกลางฝูงชนมากมาย หรือในสถานการณ์ภัยพิบัติ

          “ผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน จำเป็นต้องปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเราไม่รู้ว่า เวลาใด สถานการณ์ใด จะมีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินบ้าง ดังนั้นจึงต้องตื่นตัวและเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา EMS Rally จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้บุคลากร โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่มีภาระหน้าที่สำคัญ ที่ต้องรับผิดชอบชีวิตคน"

 

 

 

 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 552