เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

"ระดม ร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยผู้ประสบภัย ปัจจัย 4 ต้องเร่งด่วน" เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยพิบัติ ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพภายใน 24 ชั่วโมงแรก

สพฉ. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จัดระดมความเห็นแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผ่านโครงการ “คนไทย ร่วมมือ ร่วมใจ เมื่อภัยมา” พัฒนาจัดระบบความช่วยเหลือ  เร่งกระจายปัจจัยสี่ ถึงผู้ประสบภัยภายใน 24 ชั่วโมงแรก / พร้อมเตือนประชาชนรับมือน้ำท่วม   => ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมจากสกู๊ปข่าวหน้า ๑ นสพ.เดลินิวส์   ..  /upload/migrate/file/20110406072546.pdf

 

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาทิ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม กลุ่มยารักษาโรค สมาคม สื่อมวลชน และมูลนิธิต่างๆ จัดระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการจัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการจัดการสาธารณภัย โดยเฉพาะการช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่ ผ่านโครงการ “คนไทย ร่วมมือ ร่วมใจ เมื่อภัยมา”

โครงการ “คนไทย ร่วมมือ ร่วมใจ เมื่อภัยมา”  ริเริ่มขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันทั้งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย กำลังประสบกับภาวะภัยพิบัติ ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหว และล่าสุดคือเหตุการณ์น้ำท่วม ดินสไลด์ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจํานวนมาก แต่ที่ผ่านมาจากผลการสำรวจพบว่าผู้ประสบภัยพิบัติส่วนใหญ่ยังขาดแคลนปัจจัย 4 อย่างฉับพลันโดยเฉพาะใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งถือเป็นช่วงวิกฤตที่จะทําให้เกิดภาวะฉุกเฉินได้

นอกจากนี้จากผลการสํารวจของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยนํ้าท่วม” พบว่า ร้อยละ 82 พร้อมที่จะบริจาคสิ่งของเครื่องใช้หรือเงินให้กับผู้ประสบภัย และร้อยละ 51 ไม่เชื่อมันว่าเงินหรือสิ่งของเครื่องใช้จะถูกนําไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัย และเห็นควรให้มีการปรับปรุงในเรื่องความรวดเร็ว และความครอบคลุมในทุกพื้นที่

ดังนั้นทาง สพฉ. จึงจัดการประชุมระดมความเห็น และความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วนโดยเชื่อว่าน่าจะช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้

โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจะมีการระดมความช่วยเหลือจากหน่วยงานผู้บริจาคปัจจัยสี่ อาหาร น้ำดื่ม เสื้อผ้า ที่พักพิงชั่วคราว ยารักษาโรค การรักษาภาวะฉุกเฉิน ในพื้นที่ใกล้เคียง ผ่านไปยังผู้รับบริจาค ซึ่งแบ่งเป็นระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล และกระจายปัจจัย 4 ไปยังผู้ประสบภัยพิบัติให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมงแรก

อย่างไรก็ตามในส่วนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จะมีการเตรียมระบบการสื่อสารทั้งสายด่วน 1669 และวิทยุสื่อสาร ตลอด 24 ชั่วโมง และเตรียมพร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ให้พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ  

 เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า  ทาง สพฉ. มีโครงการเตรียมทีมแพทย์ฉุกเฉิน หรือ  DMAT (Disaster Meddical Assistant Team)ซึ่งเป็นทีมแพทย์ 3-4 คน เป็นทีมเคลื่อนที่เร็ว ที่สามารถออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งทีมแพทย์ดังล่าวจะต้องอยู่ได้ โดยไม่ต้องรับการสนับสนุนจากทีมอื่นอย่างน้อย 3วัน ทั้งในเรื่องอาหาร ที่พัก อุปกรณ์ต่างๆ  โดยมีจ.ภูเก็ต ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องสาธารณภัย เป็นจังหวัดนำร่อง และคาดว่าในปี 2554  จะพัฒนาให้ได้ครบ 18ทีม  จาก 18 เขต ทั่วประเทศ

 

ท้ายที่สุดจากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้อยากฝากให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือ คือเบื้องต้นให้ระมัดระวังอันตรายในการเดินทางสัญจร โดนเฉพาะขณะที่น้ำท่วมสูงหรือไหลเชี่ยว เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งจมน้ำ เรือล่ม เป็นต้น ระมัดระวังอันตรายจากไฟช็อต นอกจากนี้สิ่งที่ประชาชนควรเตรียมพร้อม คือ

  1. เตรียมพร้อมด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เช่น ยาสามัญประจำบ้าน เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฯลฯ เตรียมไว้เผื่อการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ถูกสัตว์หรือแมลงมีพิษกัดต่อย โรคเท้าเปื่อย โรคเชื้อรา เป็นต้น
  2. เตรียมสำรองเครื่องอุปโภคบริโภคไว้ให้เพียงพอ ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
  3. เตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามที่จำเป็นในสถานการณ์อุทกภัย  อาทิ เครื่องมือสื่อสารประเภท ต่าง ๆ ไว้ติดต่อยามฉุกเฉิน ยางในรถยนต์ กระสอบบรรจุทราย เทียนไข ถ่านไฟฉาย เป็นต้น
  4. หากเกิดเหตุภัยพิบัติให้อพยพหรือย้ายไปอยู่ที่ปลอดภัย

 

             นอกจากนี้หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ควรรีบแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ฉุกเฉินทันที

 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 931