เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

The 64th World Health Assembly, Geneva, 16-25 May 2011

The 64th World Health Assembly, Geneva, 16-25 May 2011

Summary report of WHA64 Technical briefings by Thai delegates,

 

ผู้รายงานนายแพทย์ ชาตรี  เจริญชีวะกุล, ผศ.ดร. อรพรรณ โตสิงห์,  ผศ.พญ สายพิณ  หัตถีรัตน์, นายแพทย์สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ

Technical briefings on “Public health concerns and radiation health” (17 May 2011, 12.30-14.15, Salle XII)

สาระของการนำเสนอ

๑ เป้าหมายของการนำเสนอคือเพื่อเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง  และประเทศสมาชิกเรื่องสถานการณ์ด้านการรั่วไหลของสารนิวเคลียร์  จากเหตุธรณีพิบัติภัย ณ จังหวัด ฟูกูชิมา ไดอาอิชิ  ประเทศญี่ปุ่น  ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดประกอบด้วย Mr. Kouhei Otsuku , Senior Vice Minister of Health Labour and Welfareประเทศญี่ปุ่น,  Dr.Makoto Akashi, Executive Director, Research Institute of Radiation Emergency Medicine, National Institute of Radiological sciencesประเทศญี่ปุ่น,  Dr. Maria Neira, Director, Public Health and Environment, WHO, และ Dr. Takeshi Kasai, Director, health Security & Emergencies WPRO,WHO 

.ข้อมูลนำเสนอ

๒.๑ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและธรณีพิบัติภัย ณ จังหวัด ฟูกูชิมา ไดอาอิชิ  และพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น  เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔   ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อชีวิต  ทรัพย์สิน  และที่อยู่อาศัยของประชาชนที่อาศัยในบริเวณนั้น  และบริเวณใกล้เคียง   ร่วมกับคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นหลังการเกิดแผ่นดินไหว  มีผลให้โรงผลิตกระแสไฟฟ้านิวเคลียร์TEPCO  Fukushima Dai-ichi Nuclear Power Station เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง  กระทบโครงสร้างของอาคาร  และ chambers ที่ใช้บรรจุสารกัมมันตภาพรังสี ขนาดใหญ่  ทั้ง ๔ ยูนิต  จนทำให้มีการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี สู่สิ่งแวดล้อมในบริเวณรัศมีโดยรอบ  ทั้งการปนเปื้อนในอากาศ  ในพื้นดิน  ในแหล่งน้ำ  โดยเฉพาะเมื่อวันที่ ๑ เมษายน  ได้พบการรั่วไหลลงในทะเล  และน่านน้ำบริเวณแถบตะวันออกเฉียงเหนือ  รัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการควบคุมการรั่วไหล  ด้วยวิธีการต่างๆ  จนกระทั่งสามารถยับยั้งการรั่วไหลได้ในวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๔

๒.๒ ประเด็นที่น่าเป็นห่วง  และทำให้ประชาชนทั่วโลกเกิดความไม่มั่นใจในด้านความปลอดภัย  คือ  การบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มาจากประเทศญี่ปุ่น  การเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น  หรือแม้แต่การเดินทางผ่านสนามบิน  หรือการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากคนที่เดินทางมาจากประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้  หากมีการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง  หรือไม่มีข้อมูลที่แท้จริง  ย่อมมีผลต่อความตื่นตระหนก  ความไม่มั่นใจ  และท้ายที่สุด  จะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น  ซึ่งต้องการการฟื้นฟูหลังการเกิดภิบัติภัยได้

๒.๓ สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำกับและควบคุมให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในขณะนี้คือ 

๒.๓.๑ การเฝ้าระวังระดับสารกัมมันตภาพรังสีอย่างใกล้ชิด  โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดทุกวัน 

๒.๓.๒ ห้ามจำหน่ายสินค้าที่มีการปนเปื้อนในประเทศ  รวมทั้งห้ามส่งออกสินค้าทุกชนิด  โดยเฉพาะ พืช ผัก  ผลไม้  นม  และผลิตภัณฑ์จากนม  รวมถึงอาหารทะเลที่ตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีในระดับเกินมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค  ซึ่งในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔) อาหารที่มีการปนเปื้อนคือ ปลาทราย และ ผักปวยเล้ง 

๒.๓.๓ ห้ามทำการประมงในพื้นที่ชายฝั่ง  และพื้นที่ของทะเลที่ตรวจพบว่าได้รับผลจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี  อันได้แก่บริเวณแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น 

๒.๓.๔ รายงานผลการตรวจระดับ สารกัมมันตภาพรังสีทั้งในสิ่งแวดล้อม  ได้แก่  อากาศ  ดิน  แหล่งน้ำ  พืช  สัตว์  ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและพื้นที่ใกล้เคียงทุกวัน  โดยเปรียบเทียบระดับเพื่อแสดงผล  และเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชนทั้งในประเทศ  และระหว่างประเทศ

๒.๓.๕ กำหนดมาตรการณ์ในการจัดการในกรณีที่ตรวจพบระดับสารกัมมันตภาพรังสีที่สูงขึ้น  ทั้งมาตรการณ์ด้านความปลอดภัยของประชาชน  ของผู้ปฏิบัติงานเพื่อควบคุมสารกัมมันตภาพรังสี  ทีมสุขภาพที่เป็นผู้ดูแลผู้สัมผัสสารกัมมันตภาพรังสี  และการแจ้งเตือนภัยยังผู้เกี่ยวข้อง  ทั้งในประเทศ  และระหว่างประเทศ

                        ๒.๓.๖ จัดทำ เว็ปไซท์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน โดย จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เผยแพร่เป็น ๕ กลุ่ม  ได้แก่ ๑)มาตรการณ์ในการจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงและทำให้เกิดความปลอดภัย ๒)การวัดระดับสารกัมมันตภาพรังสี ๓)ความปลอดภัยด้านการบริโภคน้ำ ๔)ความปลอดภัยด้านอาหาร และ ๕)ความปลอดภัยด้านการใช้ท่าเรือและท่าอากาศยาน 

๒.๓.๗ กระทรวงวิทยาศาสตร์  กระทรวงศึกษาธิการของประเทศญี่ปุ่นเผยแพร่ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับความเสี่ยงและการทำให้เกิดความปลอดภัยจาก  สารกัมมันตภาพรังสี  แก่ประชาชนทุกวัน 

๒.๓.๘ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้าน radiation emergency medicine ประเทศญี่ปุ่น  ยืนยันว่า  สารกัมมันตภาพรังสี  ไม่มีผลกระทบต่อการเกิด mutation ในมนุษย์  แต่จะส่งผลเฉพาะสัตว์เท่านั้น

            ๒.๔ World Health Organization Pacific Regional Office ได้มีบทบาทในการช่วยเหลือ  ให้ข้อแนะนำ  ช่วยเผยแพร่ข้อมูล  โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร  น้ำ  การท่องเที่ยว  หรือการเดินทางผ่านประเทศญี่ปุ่น 

บทบาทและท่าทีของประเทศอื่นๆ

            ๑ ความไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น  เนื่องจาก  ญี่ปุ่นมีโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์  กว่า ๖๐ แห่งทั่วประเทศ

            ๒ ความไม่มั่นใจเรื่องผลกระทบระยะยาวต่อผู้สัมผัสสารปนเปื้อน  ซึ่งควรมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

บทเรียนที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม

ญี่ปุ่นแสดงแบบอย่างที่ดีในการให้ข้อมูลด้าน radiation health แก่ผู้เกี่ยวข้อง  ทั้งสถานการณ์   การจัดการ  การประเมินความปลอดภัยในระยะเร่งด่วน  และการเฝ้าระวังในระยะยาว  ลักษณะของการให้ข้อมูล เน้นการใช้สื่อในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นสื่อชุดเดียวกัน และมีหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลเป็นหน่วยเดียวกัน  ซึ่งมีผลให้ผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลในทิศทางเดียวกัน  สามารถควบคุมความตื่นตระหนก  ความหวาดกลัว  และการป้องกันตนเองอย่างไม่ถูกวิธี  เช่นการใช้สาร Potassium Iodide ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ 

ควรมีการพัฒนาเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อการสื่อสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้เพื่อการจัดการความเสี่ยงสำหรับประเทศอื่นๆที่มีโอกาศได้รับผลกระทบด้วย 

สำหรับ แพทย์ พยาบาล  ทีมสุขภาพ และประชาชนไทยสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก เวบไซท์  ต่างๆดังนี้

กลุ่มเวบไซท์มาตรการณ์ในการจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงและทำให้เกิดความปลอดภัย

http://www.kantei.go.jp/foreign/incident/index.html

http://www.meti.go.jp/english/index.html

http://www.nisa.meti.go.jp/english/

กลุ่มเวบไซท์การวัดระดับสารกัมมันตภาพรังสี

http://www.mext.go.jp/english/radioactivity_level/detail/1303962.htm

http://www.nisa.meti.go.jp/english/

http://www.worldvillage.org/fia/kinkyu_english.php

http://www.tepco.co.jp/en/press/corp-com/release/index-e.html

http://www.nsc.go.jp/NSCenglish/geji/index.htm

กลุ่มเวบไซท์ความปลอดภัยด้านการบริโภคน้ำ

http://www.mhlw.go.jp/english/topics/2011eq/index.html

http://www.waterworks.metro.tokyo.jp/press/shinsai22/press110324-02-1e.pdf

กลุ่มเวบไซท์ความปลอดภัยด้านอาหาร

http://www.maff.go.jp/e/index.html

http://www.mhlw.go.jp/english/topics/2011eq/index.html

กลุ่มเวบไซท์ความปลอดภัยด้านการใช้ท่าเรือและท่าอากาศยาน 

http://www.mlit.go.jp/page/kanbo01_hy_001428.html

http://www.mlit.go.jp/koku/flyjapan_en/index.html

http://www.mlit.go.jp/page/kanbo01_hy_001411.html

 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 507