เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

64th World Health Assembly, Geneva, 16-25 May 2011 ; Summary report of WHA64 agenda by Thai delegates

64th World Health Assembly, Geneva, 16-25 May 2011

Summary report of WHA64 agenda by Thai delegates,

 

ผู้รายงาน        รศ. ดร.อรัญญา เชาวลิต, ผศ. ดร.อรพรรณ โตสิงห์, นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล, นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

 

Side meeting   Other meeting on “Health worker safety in times of armed conflict”

 

สาระของการประชุม

                   การนำเสนอเรื่องนี้มีเป้าหมาย เพื่อ (1) สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ระบบสุขภาพ และการพัฒนากำลังคน (2) ค้นหาโอกาสสำหรับการเป็นผู้นำขององค์การอนามัยโลกในการวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลและการสร้างนโยบาย และ (3) เริ่มสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงต่างๆด้านสุขภาพ กลุ่มบุคคลด้านการแพทย์และสาธารณสุข องค์กรอิสระ และภาคประชาชน ซึ่งผู้นำเสนอประกอบด้วยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่หลากหลาย 5คน ตามลำดับดังนี้

  1. Dr. Robbin Coupland, Medical Adviser, International Committee on Red Cross
  2. Miatta Gabanya, Nurse and Ambassador for Merlin’s Hands up for Health Workers Campaign
  3. Dr. Torunn Janbu, Chairperson of the World Medical Association Medical Ethics Committee
  4. Dr. Nils Daulaire, Director, Office of Global Health Affairs, United States Department of Health and Human Services
  5. Leonard Rubenstein, Senior Scholar, Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health

สาระสำคัญของการนำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์เชิงประจักษ์ที่สะท้อนถึงผลกระทบของ

ความขัดแย้งในสงครามต่อบุคลากรด้านสุขภาพ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์ด้านการแพทย์ ซึ่งผลกระทบต่อบุคลากรด้านสุขภาพ มีหลายลักษณะ เช่น การลักพาตัว การถูกข่มขืน การคุกคาม การถูกทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บ และเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้บุคลากรเหล่านี้ต้องปฏิบัติงานท่ามกลางความลำบาก ความหวาดกลัว และความรู้สึกถูกทอดทิ้ง เนื่องจากไม่ได้รับการป้องกันอันตรายขณะปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกในการทำงาน รวมทั้งขาดแคลนยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่การที่บุคลากรเหล่านี้ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางอันตรายได้ ไม่ใช่เพราะเงินทอง เพราะเงินทองไม่สามารถซื้อชีวิตได้ แต่ด้วยความรู้สึกต่อพันธะหน้าที่ที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยทีต้องการความช่วยเหลือ

         

แพทยสมาคมระหว่างประเทศได้พยายามผลักดันนโยบายและกฎหมายเพื่อคุ้มครองบุคลากรด้านสุขภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ทีมีความขัดแย้ง แม้ว่าปัจจุบันจะมีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่กำหนดว่าผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจากบุคลากรด้านสุขภาพโดยไม่คำนึงความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางสังคม พรรคการเมือง ฯลฯ และยังกำหนดอีกว่าบุคลากรด้านสุขภาพจะต้องให้การช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเหล่านั้น ซึ่งสามารถแปลความได้ว่าบุคลากรด้านสุขภาพจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความปลอดภัยในการช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านั้น แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนดังกล่าว บุคลากรด้านสุขภาพจึงได้รับอันตรายอย่างต่อเนื่องจากความขัดแย้งต่างๆ ทั้งในสงคราม และความขัดแย้งในสังคม

          ผู้นำเสนอได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ปัญหานี้ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงว่าเกิดจากการที่ไม่รู้จริงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ไม่รู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ใดบ้างในโลกนี้ ไม่รู้ว่าลักษณะของการถูกทำร้ายเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่าสาเหตุของการถูกทำร้ายคืออะไร ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมักจะมีการปกปิดข้อมูล ไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน

         

 

บทบาทและท่าทีของสมาชิก/ผู้เข้าร่วมประชุม

          ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอเรื่องนี้ และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางเพื่อหาแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันผลกระทบจากความขัดแย้งต่อบุคลากรด้านสุขภาพ ผู้แทนแต่ละประเทศยินดีให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยให้องค์การอนาบัยโลกเป็นผู้นำ แต่องค์การอนามัยโลกจะต้องสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อทำให้การดูแลสุขภาพมีความปลอดภัยสำหรับทุกคน

 

สรุปผลการประชุม

ผู้นำเสนอและที่ประชุมได้ร่วมกันเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ การให้ทุนทำวิจัยเพื่อทำการศึกษาอย่างจริงจัง การสร้างความตระหนักของบุคคล องค์กรต่างๆของแต่ละประเทศ องค์การอนามัยโลกควรเป็นผู้นำเรื่องนี้ โดยการให้ความสำคัญของเรื่องนี้มากขึ้น โดยการกำหนดให้อยู่ในเป้าหมายสหัสวรรษด้านสุขภาพ (MDG) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ องค์กรด้านสุขภาพ และภาคประชาชน รวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ รวมทั้งการจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับบุคลากรด้านสุขภาพให้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง

 

บทเรียนที่ได้รับจากการเข้าร่วม

          ปัจจุบันประเทศไทยก็มีเหตุการณ์ความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรด้านสุขภาพ เช่นเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเหตุการณ์ในสังคมไทยที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง แต่ก็ยังไม่มีแนวทางในการป้องกัน แก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการหนึ่งที่ควรใช้ คือการจัดหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ เช่น การให้ความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความขัดแย้งต่างๆด้วยความเป็นกลาง และวิธีการป้องกันตัวเองกรณีเกิดการโจมตีจากระเบิดซ้ำสอง การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ การเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง และการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ จะต้องสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างความรักและสามัคคี และความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 428