เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

เตรียมรับมือ....น้ำป่า ภัยธรรมชาติช่วงหน้าฝน

 




  

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แนะประชาชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำป่า ไหลหลาก ดินโคลนถล่มให้เตรียมความพร้อมรับมือ ประชาชนชนในพื้นที่เสี่ยง ต้องสังเกตสีน้ำ หากได้ยินเสียงก้อนหิน กิ่งไม้หัก และน้ำขุ่นให้รีบอพยพขึ้นสู่ที่สูง และหากฝนตกหนักห้ามอยู่ใกล้ต้นไม้ เสาไฟฟ้า พร้อมทั้งถอดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกชนิด และควร ระวังเด็กเล็กเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่อการ จมน้ำได้ง่าย ทั้งนี้หากพบผู้บาดเจ็บให้รีบโทรสายด่วน 1669 ให้เข้าทำการช่วยเหลือทันที 
          ภายหลังจากที่เกิดพายุฝนในหลายพื้นที่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวันทั่วประเทศไทยนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดโดยได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ในเครือข่ายกู้ชีพให้เตรียมพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น ซึ่งนอกจากการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในหลายหน่วยงานแล้ว ประชาชนก็ต้องเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติในเบื้องต้นด้วยเช่่นกัน 
          โดยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย จะต้องสร้างแผนฉุกเฉิน เช่น หาวิธีการแจ้งเหตุ กระจายข่าว เส้นทางอพยพ กำหนดจุด ปลอดภัย และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน พร้อมกันนี้ยังต้องสอดส่อง ติดตาม ฟังข่าวสารบ้านเมือง และสำรองปัจจัยสี่ จัดเตรียมน้ำ อาหารแห้ง ยารักษาโรค และของใช้ที่จำเป็น ใส่ถุง กันน้ำโดยจัดทำเป็นชุดๆ เก็บไว้ในที่ปลอดภัย จัดเป็นชุด ให้หยิบฉวยง่าย และหยิบใช้สะดวก 
          เลขาธิการ สพฉ. แนะนำเพิ่มเติมอีกว่า ในกรณีที่เกิดพายุ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เสี่ยงภัยจะต้องฟังประกาศเตือนภัย และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  และต้องเตรียมการ ในเบื้องต้น เพื่อระวังภัยโดยการตรึงประตู หน้าต่างให้มั่นคง ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกชนิด เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรขณะฝนตกฟ้าคะนอง เตรียมอุปกรณ์จำเป็น เช่น เทียนไข ไฟฉาย ยาประจำตัวติดตัวตลอด ขณะฝนตกฟ้าคะนอง ห้ามอยู่ใต้ต้นไม้ เสาไฟ และ ห้าม โทรศัพท์เด็ดขาด หากรู้สึกว่าบ้านกำลังจะพังให้ห่อตัวเองด้วยผ้าห่ม หลบใต้โต๊ะ ใต้เตียง หรือที่แข็งแรงมั่นคง 
          ส่วนกรณีการเตรียมพร้อมหากเกิดดินโคลนถล่มเพราะฝนตกหนักว่า ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสังเกตสัญญาณเตือนภัย ของเหตุดินโคลนถล่ม เช่น เสียงต้นไม้หัก หินก้อนใหญ่ตกลงมา น้ำมีสีขุ่น อพยพไปในพื้นที่สูงและมั่นคง ตามเส้นทางที่เตรียมการไว้ เมื่อได้รับสัญญาณเตือนภัยตั้งสติ ท่องไว้ "รักษาชีวิตก่อน ทรัพย์สินไว้ทีหลัง" ให้นำของใช้เฉพาะที่จำเป็นติดตัวไปเท่านั้นหากพลัดตกน้ำ หาต้นไม้ใหญ่เกาะ รีบขึ้นจากน้ำให้ได้ หากหนีไม่ทัน ให้ม้วนตัวเป็นทรงกลม ให้มากที่สุด เพื่อป้องกันศีรษะกระแทก 
          "ส่วนการป้องกันเหตุน้ำป่าน้ำท่วมฉับพลัน ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องรีบอพยพขึ้นที่สูง โดยหลีกเลี่ยงแนวธารน้ำ ช่องระบายน้ำ สวมเสื้อชูชีพ ห้ามเดินฝ่ากระแสน้ำ และใช้ไม้ปักดินคลำทาง เพื่อสังเกตว่าดินตื้นลึก แค่ไหน ห้ามขับรถฝ่ากระแสน้ำท่วม และหากน้ำขึ้นสูงรอบๆ รถ ให้รีบออกจากรถ อย่าเสี่ยงช่วยผู้อื่นหากอุปกรณ์ไม่พร้อม เพราะอาจไม่รอดทั้งคู่ และสิ่งที่สำคัญในทุกเหตุการณ์ ภัยพิบัติที่เราต้องดูแลเป็นพิเศษคือเด็กเล็กเพราะอาจเสี่ยงต่อการจมน้ำได้ง่าย ซึ่งในทุกกรณีเมื่อพบผู้บาดเจ็บ ต้องรีบโทรแจ้งสายด่วน ฉุกเฉิน1669 หากพบผู้บาดเจ็บ 
        
          นอกจากการเตรียม ความพร้อมของ เจ้าหน้าที่ประชาชน ก็ต้องเตรียม ความพร้อมก่อนที่ จะเกิดภัยพิบัติ ในเบื้องต้นด้วย- 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 1716