เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

เตรียมตัวให้พร้อม หากจะเข้าร่วมชุมนุม

นำวิธีการเตรียมตัวให้พร้อม หากจะเข้าร่วมชุมนุมมาฝากค่ะ 
 



1. น้ำดื่ม ผู้ชุมนุมควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราจะดื่มน้ำ.2 ลิตรต่อวัน แต่ในช่วงที่ชุมนุมจะเป็นการอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง อากาศจะร้อนผู้ชุมนุมอาจเสียเหงื่อมาก ดังนั้นผู้ชุมนุมควรเตรียมน้ำดื่มเพิ่มอีกประมาณ 1-2 เท่า เพื่อให้เพียงพอต่อการดื่มในแต่ละวัน 

2. อาหาร 
ถึงแม้จะอยู่ในพื้นที่ชุมนุม ผู้ชุมนุมก็ไม่ควรละเลยเรื่องการกินอาหาร ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกกินอาหารที่สุกสะอาดเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่สำคัญควรพกกล้วยน้ำว้าติดตัวไว้ เวลาหิวก็สามารถกินกล้วยรองท้องได้  
ในกล้วยน้ำว้า 1ใบจะอุดมด้วยสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมากมายและยังมีสรรพคุณทางยาด้วย เช่น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรืออาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้ง ๆ ช่วยระงับกลิ่นปากได้ และยังเป็นยาระบายช่วยแก้ท้องผูกด้วย วิธีการคือให้กินกล้วยน้ำว้าสุก 1-2 ลูกก่อนนอน แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ จะช่วยให้ถ่ายท้องได้ดีในวันรุ่งขึ้น ในแต่ละวันจึงควรกินกล้วยน้ำว้าให้ได้อย่างน้อย 2 ลูกจะยิ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพมาก ๆ 

3.อุปกรณ์กันแดด เช่น ร่ม หมวก เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดได้ 

4.โทรศัพท์มือถือ แบตสำรอง  ที่สำคัญจะต้องจำเบอร์โทรฉุกเฉินให้ขึ้นใจ อาทิ สายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669 ตำรวจ 191 และควรพกเบอร์คนในครอบครัว คนสนิท ติดตัวไว้ด้วย 

5.ยาดม ยารักษาโรค 

6.ผ้าเช็ดหน้า 

7. การนอนหลับพักผ่อน 
ผู้ชุมนุมควรนอนหลับให้สนิทให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  

8. การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล 
การใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ชุมนุมที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากมายต้องใส่ใจเรื่อง สุขอนามัยส่วนบุคคลด้วยเพราะอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว ข้อนี้ขอให้ใช้หลักกินร้อน ช้อนกลาง (พกมาเองและติดตัวไว้เสมอ) ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ถ้าน้ำหายากก็ให้พกเจลล้างมือติดตัวไว้ซึ่งสะดวกกว่าการใช้น้ำ  

9. การเตรียมความพร้อมของตัวเอง เพื่อป้องกันความร้อนและแสงแดดที่จะแผดเผาร่างกายในระหว่างชุมนุม ผู้ชุมนุมควรใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวกและแว่นกันแดด รวมทั้งรองเท้าที่สวมใส่สบายให้พร้อมในการเดิน ไม่ควรเดินติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไปเพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนล้า ควรเดินประมาณ 30 นาทีแล้วหยุดพักก่อน หลังจากนั้นค่อยเริ่มเดินใหม่ ไม่ควรเดินเร็วเกินไปเพราะจะทำให้เหนื่อยง่ายและจะทำให้เสียเหงื่อมาก นอกจากนี้ควรเตรียมน้ำสำหรับดื่มในระหว่างเดินด้วย โดยค่อย ๆ จิบทีละนิด น้ำจะได้ไม่ถูกขับออกทางเหงื่อและจะช่วยไม่ให้หิวน้ำบ่อย นอกจากนี้สตรีที่อยู่ในระหว่างมีรอบเดือนควรเตรียมผ้าอนามัยให้พร้อม และในผู้ที่มีโรคประจำตัวก็ต้องเตรียมยาไปให้พร้อมด้วย 

10. การจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเอง 
ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมจะมีระดับความเครียดสูงกว่าผู้ที่อยู่นอกพื้นที่ชุมนุม เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ร่วมกับสิ่งแวดล้อมและสื่อรอบตัว ซึ่งความเครียดจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ชุมนุม ดังนั้น ผู้ชุมนุมควรหาวิธีคลายเครียดให้กับตัวเอง  

11. ไม่ควรเดินทางไปร่วมชุมนุมเพียงลำพั สำหรับผู้ที่ต้องการจะไปร่วมชุมนุมทางการเมือง ไม่ควรจะไปเพียงลำพัง ควรไปกับเพื่อนฝูงที่สนิทหรือผู้ที่ไว้ใจได้อย่างน้อย 1-2 คน เพราะหากเกิดเหตุปะทะหรือเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือกันได้  

*********ที่สำคัญอย่าลืมหากบาดเจ็บ ป่วยฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน.1669 ********* 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากกรมอนามัย และ เอเอสทีวีผู้จัดการ
  

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 1022