เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

สพฉ.เตือนหากพบเห็นผู้ป่วยนิ้วหรืออวัยวะในร่างกายขาดให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 พร้อมแนะวิธีปฐมพยาบาล

 

สพฉ.เตือนหากพบเห็นผู้ป่วยนิ้วหรืออวัยวะในร่างกายขาดให้รีบโทรแจ้งสายด่วน1669  พร้อมแนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลเพื่อห้ามเลือด และรีบนำอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่นใส่น้ำแข็งและรีบส่งผู้ป่วยและอวัยวะที่ขาดให้ถึงมือแพทย์ภายในชั่วโมง

 

จากเหตุการณ์ที่มีเด็กนักเรียนถูกประตูหนีบนิ้วจนขาดแต่ไม่สามารถต่อนิ้วที่ขาดได้เพราะการส่งต่อไปทำการรักษาล่าช้าตามที่สื่อหลายแห่งได้มีการนำเสนอข่าวไปนั้น  ล่าสุด เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ออกมาให้คำแนะนำสำหรับเรื่องนี้ว่า หากเราพบเห็นบุคคลที่นิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดจน ทำให้เสียเลือดมากนั้นสิ่งที่เราต้องทำเป็นอันดับแรกคือตั้งสติและรีบโทรขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน1669 ให้รีบเข้ามารับผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลให้ได้อย่างทันท่วงที และในระหว่างที่เรากำลังรอเจ้าหน้าที่เดินทางเข้ามาให้ความช่วยเหลือนั้นก็ควรที่จะปฐมพยาบาลผู้ป่วยโดยให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล พันแผลบริเวณเหนือแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก ทั้งนี้ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัดเพราะจะทำให้รัดเส้นประสาทหลอดเลือดเสียได้ นอกจากนี้ควรสังเกตอาการผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด ควรงดอาหารทางปาก และจิบน้ำได้เล็กน้อย เพราะอาจจะต้องรับการผ่าตัดด่วน 

 

“ ส่วนวิธีการเก็บรักษาอวัยวะส่วนที่ขาดคือ ให้นำสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่ขาด ล้างน้ำสะอาด ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในน้ำแข็ง โดยอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อมาก ๆ เช่น แขน ขา ต้องได้รับการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้เร็วที่สุด ภายใน ชม. ส่วนบริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น นิ้ว สามารถเก็บไว้ได้ 12 – 18 ชม.ดังนั้นการส่งผู้ป่วยไปทำการรักษาให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวก็จะช่วยทำให้แพทย์สามารถรักษาอวัยวะที่ขาดให้กลับมาใช้งานได้” เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติระบุ

สพฉ.เตือนหากพบเห็นผู้ป่วยนิ้วหรืออวัยวะในร่างกายขาดให้รีบโทรแจ้งสายด่วน1669  พร้อมแนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลเพื่อห้ามเลือด และรีบนำอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่นใส่น้ำแข็งและรีบส่งผู้ป่วยและอวัยวะที่ขาดให้ถึงมือแพทย์ภายในชั่วโมง


 

 

จากเหตุการณ์ที่มีเด็กนักเรียนถูกประตูหนีบนิ้วจนขาดแต่ไม่สามารถต่อนิ้วที่ขาดได้เพราะการส่งต่อไปทำการรักษาล่าช้าตามที่สื่อหลายแห่งได้มีการนำเสนอข่าวไปนั้น  ล่าสุด เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ออกมาให้คำแนะนำสำหรับเรื่องนี้ว่า หากเราพบเห็นบุคคลที่นิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดจน ทำให้เสียเลือดมากนั้นสิ่งที่เราต้องทำเป็นอันดับแรกคือตั้งสติและรีบโทรขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน1669 ให้รีบเข้ามารับผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลให้ได้อย่างทันท่วงที และในระหว่างที่เรากำลังรอเจ้าหน้าที่เดินทางเข้ามาให้ความช่วยเหลือนั้นก็ควรที่จะปฐมพยาบาลผู้ป่วยโดยให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล พันแผลบริเวณเหนือแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก ทั้งนี้ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัดเพราะจะทำให้รัดเส้นประสาทหลอดเลือดเสียได้ นอกจากนี้ควรสังเกตอาการผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด ควรงดอาหารทางปาก และจิบน้ำได้เล็กน้อย เพราะอาจจะต้องรับการผ่าตัดด่วน 

 

 

“ ส่วนวิธีการเก็บรักษาอวัยวะส่วนที่ขาดคือ ให้นำสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่ขาด ล้างน้ำสะอาด ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในน้ำแข็ง โดยอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อมาก ๆ เช่น แขน ขา ต้องได้รับการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้เร็วที่สุด ภายใน ชม. ส่วนบริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น นิ้ว สามารถเก็บไว้ได้ 12 – 18 ชม.ดังนั้นการส่งผู้ป่วยไปทำการรักษาให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวก็จะช่วยทำให้แพทย์สามารถรักษาอวัยวะที่ขาดให้กลับมาใช้งานได้” เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติระบุ

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 2 ทั้งหมด 1341