เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

วันที่ 4-7 กรกฎาคม พ.ศ.2566 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ The Project to Strengthening the ASEAN Regional Capacity on Disaster Health Management (ARCH Project) ได้ร่วมกันจัดอบรมหลักสูตร Mock Up Basic Disaster Health Management (B-Course) ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 4-7 กรกฎาคม พ.ศ.2566 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ The Project to Strengthening the ASEAN Regional Capacity on Disaster Health Management (ARCH Project) ได้ร่วมกันจัดอบรมหลักสูตร Mock Up Basic Disaster Health Management (B-Course) ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบหลักสูตรการอบรม Basic Disaster Health Management ผ่านการเข้าร่วมและให้ความคิดเห็นโดยตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้เข้าร่วม โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ดร.พิเชษฐ์ หนองช้าง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายไพศาล ก้อนจำปา ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ Mr.SUZUKI Kazuya Chief Representative of JICA Thailand ในการเข้าร่วมและกล่าวเปิด-ปิดการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรมนั้นประกอบไปด้วย การเรียนออนไลน์ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนเดินทางเข้าร่วมการอบรม การอภิปรายกลุ่ม การเล่นเกมส์ ในวันที่ การซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table-Top Exercise) และการทบทวนหลังจากการซ้อมแผน (After Action Review)

หลักสูตร Basic Disaster Health Managemen หรือ B-Course เป็นหลักสูตรที่ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในประเทศในการตอบโต้กับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศในเบื้องต้น หลักสูตรจะประกอบไปด้วยบทเรียน 12 บท แบ่งเป็นบทเรียนทั่วไป 9 บท เช่น General Knowledge in Disaster, Survival theories, Critical Resources Management Theory, Ethics and Humanitarian Issues ฯลฯ และบทเรียนที่แยกตามประเภทของปฏิบัติการอีก 3 บท เช่น Specific Hazard, Communication Devices Installation and Operation, Transportation and Control ช่วงท้ายของการฝึกอบรม ผู้เรียนจะเข้าร่วมการซ้อมแผนบนโต๊ะซึ่งนำเอาบทเรียนที่เรียนผ่านมาทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นแบบฝึกจำลองด้วยการใช้ Patient Card ที่จำลองผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และการกรอกแบบฟอร์มที่ต้องใช้ในสถานการณ์จริง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องจำลองสถานการณ์การเข้าพื้นที่ภัยพิบัติ การรายงานตัวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในพื้นที่ การใช้วิทยุสื่อสาร การเข้าประเมินความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และการประชุมเพื่อรายงานสถานการณ์ประจำวัน

 

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 419