เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

นาวาเอก (พิเศษ) พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการ สพฉ. เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันการจมน้ำโลก (World Drowning Prevention Day) ปี 2566

นาวาเอก (พิเศษ) พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการ สพฉ. เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันการจมน้ำโลก (World Drowning Prevention Day) ปี 2566 จัดโดย กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค โดยมีนายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานรณรงค์วันป้องกันการจมน้ำโลก (World Drowning Prevention Day) ปี 2566 โดยมี นายแพทย์ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค Dr.Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำตามมติสหประชาชาติ และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมงาน ณ สระว่ายน้ำองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

ในปีนี้ การรณรงค์วันป้องกันการจมน้ำโลก จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เริ่มทำ-ทำต่อ-ต่อขยาย...คนไทยไม่จมน้ำ” เพื่อสร้างการรับรู้ให้คนไทยทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการจมน้ำ รวมถึงส่งเสริมให้เด็กและประชาชนทั่วไปมีทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำเฉลี่ยปีละ 3,640 คน หรือวันละ 10 คน

มีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งเด็กและประชาชนทั่วไปเกือบ 500 คน กิจกรรมประกอบด้วย การสอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย, การสาธิตทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำของเด็กนักเรียน, การแสดงพลังความร่วมมือของประเทศไทย “Do one thing to prevent drowning”, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการจมน้ำ, การเรียนรู้วิธีการ CPR ช่วยคนจมน้ำ และการประกวดโยนเชือกช่วยคนตกน้ำในระดับประเทศ 2 ประเภท ได้แก่ การโยนเชือกเปล่า และการโยนเชือกผูกถังแกลลอน แบ่งเป็น 5 รุ่น ตั้งแต่เด็กอายุ 7 ปี จนถึงประชาชนทุกกลุ่มอายุ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน 151 ทีม จาก 14 จังหวัด

ที่ผ่านมา สพฉ.ได้ริเริ่มและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการป้องกันและบรรเทาความเจ็บป่วยทางน้ำ โดยร่วมจัดทำหลักสูตรแนวทางปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำและทะเล (Maritime and Aquatic Life Support) ให้กับประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ เรื่องทักษะและความรู้ในการป้องกัน การช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทางน้ำ ซึ่งการเคลื่อนย้ายและลำเลียงผู้ป่วยที่ผ่านมา สพฉ.ได้ลงนาม MOU ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้ป่วยฉุกเฉินทางน้ำและทางทะเล แหล่งน้ำขนาดใหญ่ แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงบริเวณเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางน้ำและทางทะเล สามารถให้การช่วยเหลือและนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว โดย สพฉ.มุ่งมั่นที่จะยกระดับบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีมาตรฐานและประชาชนเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

Credit รูปภาพ : กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

#ภาคีเครือข่าย #DORPHINTEAM #Skydoctor #ชุดปฏิบัติการโลมาช่วยชีวิต #สพฉ #niems #สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ #เจ็บป่วยฉุกเฉินโทร1669 #วันป้องกันการจมน้ำโลก #WorldDrowningPreventionDay #WDPD2023 #คนไทยไม่จมน้ำ

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 149