เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

อุทกภัย กับปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

 

อุทกภัยกับปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
 จากสถานการณ์น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในสถาวะวิกฤติ อีกทั้งอุทกภัยครั้งนี้ได้ขยายบริเวณกว้างในพื้นที่ 17 จังหวัด ส่งผลให้ประชาชนเดือนร้อนอย่างหนัก  โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา เพราะเพียงไม่กี่ชั่วโมงต้องตกอยู่ในสภาพจมบาดาล นับได้ว่าเป็นอุทกภัยที่หนักที่สุดในรอบ 50 ปี
  
  ทั้งนี้เมื่อเกิดอุทกภัยแล้ว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีหน้าที่ประสานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสาร และการช่วยเหลือ และจัดเตรียมหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งระดมทรัพยากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งด้านบุคลากร เวชภัณฑ์ วัสดุภัณฑ์ ครุภัณฑ์และพาหนะ
            และเรื่องที่ต้องคำนึงอย่างมาก คือต้องเร่งช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือ ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งจะต้องประเมินระดับความรุนแรงของสาธารณภัย คือหากจำเป็นอาจจะต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม อพยพผู้ประสบภัย ย้ายเครื่องมือ อุปกรณ์ รถพยาบาล
อย่างไรก็ตาม สพฉ. เป็นห่วงถึงสถานการณ์น้ำท่วมอย่างมาก โดยได้สั่งการให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่น้ำท่วม และพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมความพร้อมรับมือ 24 ชั่วโมง และหากเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินได้ที่หมายเลข 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 
นอกจากนี้ได้ประสานความร่วมมือกับมูลนิธิ และหน่วยกู้ชีพต่างๆ ที่มีเรือให้มาร่วมช่วยเหลือบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วย โดยเบื้องต้น พุทธมามะกะสงเคราะห์การกุศล แห่งประเทศไทย (เครือสว่าง) ปอเต๊กตึ๊ง ร่วมกตัญญู มูลนิธิในเครือธรรมรัศนีมณีรัตน์ มูลนิธิพุทธธรรม (ฮุก 31) ที่ จ.นครราชสีมา ลพบุรี ชัยภูมิ ได้นำเรือมาช่วยเหลือการให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินมากกว่า 30ลำ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้กว่า 400 คน
         โดยเมื่อเกิดเหตุอุทกภัย ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่มีบทบาทสำคัญคือ ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ คือใช้เรือเป็นพาหนะลำเลียง
อย่างไรก็ตามในเหตุอุทกภัยครั้งนี้ แม้แต่โรงพยาบาลเองก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยในจังหวัดนครราชสีมา คือ โรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลเซ็นต์แมรี่ , จังหวัดชัยภูมิ คือ โรงพยาบาลชัยภูมิ, โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์
จังหวัดลพบุรี  คือ  โรงพยาบาลลพบุรี  โรงพยาบาลบ้านหมอ โรงพยาบาลพัฒนานิคม และ สถานีอนามัยหลายแห่ง อาทิ สสอ. โคกสำโรง, สอ.เกาะแก้ว, สอ.ถลุงเหล็ก เป็นต้น, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ โรงพยาบาลท่าเรือ , จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลลาดยาว
นอกจากนี้ในส่วนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน คือกรณีที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ซึ่งรพ.มหาราชนครราชสีมา ถูกน้ำท่วม  ดังนั้น สพฉ.จึงได้สั่งการไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการในทุกพื้นที่แล้วว่าหากประสบภาวะน้ำท่วม จะต้องมีมาตรการรองรับในการช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบภัย  โดยจะต้องมีการโอนสายไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย ดังนั้นไม่ว่าศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจะประสบกับภาวะน้ำท่วมก็ยังสามารถสั่งการช่วยเหลือประชาชนได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเบื้องต้น ประชาชนผู้ประสบภัยเองจะต้องระมัดระวังตัวเองในระดับหนึ่งด้วย อาทิ ระวังภัยที่เกิดจากการจมน้ำ สัตว์มีพิษกัดต่อย น้ำกัดเท้า แผลเปื่อยและติดเชื้อ รวมถึงโรคระบาดต่างๆ ด้วย  

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 2 ทั้งหมด 1467