เข้าสู่ระบบ  ขนาดตัวอักษร  ก   ก   ก  | แสดงผล  C   C   C  | EN TH | Translate

ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการบริหารจัดการด้านสุขภาพในภัยพิบัติ

ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการบริหารจัดการด้านสุขภาพในภัยพิบัติ

บทความโดย นายพชร จงเจริญจิตเกษม

          ASEAN Leaders’ Declaration on Disaster Health Management หรือปฏิญญาผู้นำอาเซียนนี้นั้น เป็นปฏิญญาที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของอาเซียนได้เป็นผู้นำเสนอเข้าสู่กระบวนการผ่านทาง ARCH Project (Project for strengthening the ASEAN Regional Capacity on Disaster Health Management) โดยมีสาระสำคัญคือ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ อันได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยมาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนั้น จะร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการด้านภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งสร้างความยืดหยุ่นของระบบการจัดการด้านสุขภาพในอาเซียน ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2025 และติดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ซึ่งเป้าหมายที่ 3 เรียกร้องให้เพิ่มขีดความสามารถของทุกประเทศในการลดอัตราการเกิดและจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมถึงกรอบเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (พ.ศ. 2558-2573); แผนยุทธศาสตร์ร่วมอาเซียน-สหประชาชาติว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ (พ.ศ. 2559-2563) ตลอดจนมติจากที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก WHA64.10 นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงพันธสัญญาร่วมกันระดับภูมิภาคในการส่งเสริมการจัดการภัยพิบัติในแถลงการณ์ชะอำหัวหินเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ปี 2552, ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการรับมือเหตุฉุกเฉิน (AADMER) ปี 2548 และโครงการ AADMER ปี 2559-2563,  ปฏิญญาว่าด้วยการจัดระเบียบการฟื้นตัวของอาเซียนและชุมชนและประชาชนต่อภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2558; ปฏิญญา One Asian One Response: ตอบสนองต่อภัยพิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันในภูมิภาคและนอกภูมิภาคปี 2559;

          ด้วยตระหนักถึงบทบาทสำคัญของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการลดการสูญเสียชีวิต ลดความทุพพลภาพให้เหลือน้อยที่สุด และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โดยดำเนินการอย่างรวดเร็วโดยเคารพอำนาจอธิปไตยและความยินยอมของประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ พร้อมสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับชาติ สถาบัน/หน่วยงานและภาคีการพัฒนาต่างๆ และเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างระบบการจัดการด้านสุขภาพจากภัยพิบัติในระดับชาติและระดับภูมิภาค ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากเหตุฉุกเฉิน การลดอันตรายต่อสุขภาพและความเปราะบางให้เหลือน้อยที่สุด สร้างหลักประกันการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและบริการด้านสุขภาพนั้นยังคงสามารถงานได้เมื่อมีความต้องการและจำเป็นมากที่สุด ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นและเข้มแข็งของชุมชน โดยสิ่งที่ชาติสมาชิกของอาเซียนต้องปฏิบัติร่วมกันนั้นมีดังนี้

1. เสริมสร้างการประสานงานอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือกับหน่วยงานเฉพาะด้านของอาเซียนที่เกี่ยวข้องและพันธมิตรอื่น ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียนและภูมิภาคที่อำนวยความสะดวกในการบรรเทาทุกข์ทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศอย่างรวดเร็ว ให้มีการรักษาบริการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องและดำเนินการเฝ้าระวังโรคเพื่อลดการเจ็บป่วยและการตายเนื่องจากการบาดเจ็บและโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่ออื่นๆ ในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ รวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. สนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องสำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านการจัดการสาธารณสุขในภัยพิบัติ เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพในการจัดการสาธารณสุขในภัยพิบัติ และเพื่อส่งเสริมองค์กรและการประสานงานสำหรับทีมแพทย์ฉุกเฉินระหว่างประเทศ (I-EMT) ตามความเหมาะสมตามบริบทของ AMS สอดคล้องกับ AADMER และขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานของอาเซียนสำหรับการเตรียมความพร้อมในระดับภูมิภาคและการประสานงานของปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติร่วมและการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (SASOP)

3. ส่งเสริมการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานมาตรฐานระดับชาติสำหรับการประสานงานของทีมการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างประเทศ (I-EMT) และกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของ I-EMT ได้แก่หน่วยงานประสานงาน การจัดการข้อมูล และระบบขนส่ง

4. เสริมสร้างโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในกรณีฉุกเฉินและภัยพิบัติทั้งหมดโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพแห่งชาติโดยได้รับการสนับสนุนจากกฎหมาย, ข้อบังคับ และมาตรการอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ลดอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วย ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพและเสริมสร้างความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพและสังคมโดยรวม และคำนึงถึงมุมมองเรื่องเพศในทุกขั้นตอนของโครงการเหล่านี้

5. ส่งเสริมการลงทุนภาครัฐและเอกชนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เพื่อสนับสนุนความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทั้งใหม่และที่มีอยู่ รวมทั้งโรงพยาบาลและสถานพยาบาลอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพและใช้งานได้ทั้งในระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติรวมถึงบริการที่จำเป็น

6. ผลักดันการสร้างโรงพยาบาลและสถานพยาบาลที่ปลอดภัย ฟื้นตัวได้ไว และสามารถให้การรักษาพยาบาลและบริการช่วยชีวิตในระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติได้ผ่าน มาตรการลดภัยพิบัติทั้งเชิงโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้าง เพื่อให้มั่นใจว่าบริการและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเหล่านี้ได้ให้การดูแลแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

7. เสริมสร้างความร่วมมือและการเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายวิชาการที่เข้มแข็งระหว่างโปรแกรมการจัดการสุขภาพจากภัยพิบัติ เพื่อดำเนินการวิจัยและถอดบทเรียนที่ได้รับจากการจัดการสุขภาพจากภัยพิบัติในหลายเหตุการณ์และในหลายประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวทางและนวัตกรรมใหม่ ๆ

8. เพิ่มศักยภาพระดับชาติและระดับภูมิภาคในการจัดการสุขภาพภัยพิบัติ ผ่านการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมสุขภาพภัยพิบัติระดับภูมิภาค และออกแบบการจำลองและปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ

9. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงินเพื่อเติมเต็มช่องว่างในการตอบสนองระดับชาติ รวมถึงการส่งเสริมแผนยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านการจัดการภัยพิบัติในระดับชาติและระดับย่อยที่สอดคล้องกัน ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่

10. แสวงหาความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆเพื่อการพัฒนา ทั้งสหประชาชาติ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ตลอดจนหน่วยงานเฉพาะส่วนต่างๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการดำเนินการตามปฏิญญานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมกลไกระดับภูมิภาคที่ออกแบบไว้ การระดมทรัพยากร และการดำเนินการตามลำดับความสำคัญตามที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้

11. มอบหมายให้หน่วยงานระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ติดตามการปฏิบัติตามปฏิญญานี้เพื่อให้บรรลุผลตามปณิธานของปฏิญญานี้

สำหรับประเทศไทยในฐานะชาติสมาชิกของอาเซียนเองนั้นก็เข้าร่วมดำเนินการตามปฏิญญาข้างต้นร่วมกับชาติสมาชิกประเทศอื่นๆเช่นกัน และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในฐานะที่ประเทศไทยเองเป็นที่จับตามอง และ มีนโยบายในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น medical hub และ จุดหมายปลายทางอันดับต้นๆของเอเชียในทุกด้านทั้งการท่องเที่ยว และ สุขภาพ  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าระบบสาธารณสุขของไทยนั้นในปัจจุบันมิได้รองรับเพียงแค่คนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแรงงานข้ามชาติ และ ชาวต่างชาติอีกด้วย โดยสิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นข้อกังวลของระบบสาธารณสุขของไทย คือ บุคลากรทางการแพทย์ในระดับผู้เชี่ยวชาญที่มีจำนวนน้อย และจำกัด ไม่เพียงพอต่อจำนวนของผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษา แต่ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นโอกาสของประเทศไทยเช่นกันในการดึงและเสริมสร้างการลงทุนทางด้านสุขภาพในฐานะ medical Hub ของอาเซียนในระดับนานาชาติ ซึ่งสร้างโอกาสและเพิ่มโอกาสในการต่อยอดทางด้านเทคโนโลยี และ การพัฒนาของระบบสาธารณสุขของไทยให้สมดุลพร้อมทั้งส่งเสริมผลักดันขีดความสามารถควบคู่ไปกับชาติสมาชิกชาติอื่นๆในอาเซียนต่อไป

อ้างอิง https://asean.org/asean-leaders-declaration-on-disaster-health-management/

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73053/58745

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อหาและรูปที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสถาบันฯ เพื่อสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
Copyright © NIEM - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) 2019

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

โทรศัพท์ 0-2872-1600 โทรสาร 028721604 Email : saraban@niems.go.th
88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา
สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
saraban@niems.go.th 0-2872-1600 niem1669 1669NIEM NIEMS_1669 @niem1669
ปริมาณการเข้าชม วันนี้ 1 ทั้งหมด 313