ข่าวเด่นการแพทย์ฉุกเฉิน
สพฉ. ออกแนวทางป้องกันตนเองสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมรับเชื่อไว้รัสเมอร์ ย้ำต้องเตรียมมาตรการป้องกัน แนะผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ต้องไม่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง พร้อมประสานศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการเตรียมรับมือ

สพฉ. ออกแนวทางป้องกันตนเองสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมรับเชื่อไว้รัสเมอร์ ย้ำต้องเตรียมมาตรการป้องกัน  แนะผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ต้องไม่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง พร้อมประสานศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการเตรียมรับมือ

 
 

หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง”  หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2012”  หรือ ไวรัสเมอร์ส (MERS) เป็นคนแรกของประเทศไทย และอยู่ระหว่างการเฝ้าระวังผู้ต้องสงสัยอีก 59 ราย นั้น เบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาตราการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไว้ในขั้นสูงสุดแล้ว

ส่วนระบบการแพทย์ฉุกเฉินนั้น  นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทยุฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า  ขณะนี้องค์การอนามัยโรคยังไม่ใช้คำเรียกว่า โรคระบาด  แต่จากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่ประเทศเกาหลีใต้ ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วง โดย สพฉ. ได้เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเช่นกัน  โดยได้ออกประกาศการทำงานเพื่อป้องกันตนเองของบุคลากรให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ คือ ก่อนเข้าทำการช่วยเหลือผู้ป่วยจะต้องพิจารณาถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของตนเองก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัย โดยต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่ครบถ้วน ไม่ไปสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง  นอกจากนี้จะต้องทำการประเมินความปลอดภัย และสังเกตถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้ป่วยด้วย

สำหรับแนวทางปฏิบัติงาน มีดังนี้  หากสัมผัสกับผู้ป่วยทุกรายโดยไม่ต้องมีการตรวจเลือดผู้ป่วยว่าติดเชื้อหรือไม่ จะต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัส  พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลขณะทำงาน   การปฏิบัติงานจะต้องสวมถุงมือทุกครั้ง เพราะอาจจะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคของผู้ป่วยได้  และ สวมเสื้อคลุมหรือแผ่นกันเปื้อนทุกครั้ง  สวมผ้าปิดจมูก ทุกครั้ง  นอกจากนี้ที่สำคัญห้ามใช้ปากดูดหรือเป่าในการกระทำงานใด ห้ามทำ mouth to mouth resuscitation  กับผู้ป่วยที่ไม่ทราบประวัติแน่นอน  อีกทั้งควรทำความสะอาดสถานที่และบริเวณที่ปนเปื้อนของผู้ป่วยทันทีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันที และเครื่องมือต่างๆ ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งแต่ถ้ามีความจำเป็นต้องนำกลับมาใช้อีกก็ให้นำจะต้องนำไปอบฆ่าเชื้อให้ถูกต้อง  อย่างไรก็ตามได้ประสานให้ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงเตรียมพร้อมรับมือโดยใช้มาตรการสูงสุดแล้ว

ทั้งนี้ประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ไวรัสเมอร์สเป็น  โรคติดต่ออันตราย” ที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523  โดยที่ผ่านมามีการประกาศไปแล้ว โรคด้วยกันคือ โรคอหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง ไข้กาฬโรค โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการ มีไข้หรืออาจไม่มีไข้ , ไอ จาม มีเสมหะ , หายใจหอบลำบาก หากรุนแรงจะมีภาวะหายใจล้มเหลว , ตรวจพบปอดอักเสบ , ถ่ายอุจจาระเหลว และไตวาย โดยหากใครฝ่าฝืนหรือปิดบังข้อมูล มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท        

 

ผู้จัดทำ : กลุ่มดิจิทัล
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000035
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000002