ข่าวเด่นการแพทย์ฉุกเฉิน
สพฉ.ร่วมประชุมวิชาการของผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ(ทพอ.)

สพฉ.ร่วมประชุมวิชาการของผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ(ทพอ.) เตรียมรับมือสังคมผู้สูงอายุ “หมออัจฉริยะ” ห่วงผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคสมอง โรคหัวใจ และพลัดตกหกล้มจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เตรียมร่วมมืออปท.พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินรองรับอย่างเต็มที่ พร้อมประสานรพ.ใช้ระบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาก่อนอย่างทันท่วงที

ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ,)ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ทอพ.ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “Silver Society ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทย โดยมีผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ(ทพอ.)ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก งานครั้งนี้จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือเศรษฐกิจสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีคุณภาพหลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยผู้เข้าร่วมงานจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ถ่ายทอดบทเรียน และความคิดเห็นการสนับสนุนในรูปแบบต่างและนำเสนอผลงานของแต่ละองค์กรผ่านเวทีการสัมนา 4 ด้าน ได้แก่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพในหัวข้อ การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ด้านเศรษฐกิจในหัวข้อ ผู้ประกอบการสูงวัย ด้านสังคมและการศึกษาในหัวข้อ ความรู้เรื่องการเงินสำหรับผู้สูงวัย

 

เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะกล่าวว่า ในส่วนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องระบบฉุกเฉินของประเทศร่วมกับภาคีองค์กรต่างๆ เราได้รับทราบสถานการณ์ว่าตอนนี้ประเทศไทยของเรามีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกำลังจะเข้าใกล้ในระดับที่สองของอาเซียน และในแนวโน้มอีก 10 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุของเราจะมีเพิ่มขึ้น 20 ล้านคนจากปัจจุบันมี 10 ล้านคน โดยผู้สูงอายุอาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งโรคจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะป่วยด้วยโรคทางสมอง โรคทางหัวใจและเรื่องอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มจนส่งผลให้ข้อสะโพกหักหรือกระดูกหัก 

 

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า สพฉ.ได้เตรียมการในเรื่องการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อให้เข้าถึงการบริการประชาชนได้ครอบคลุมากขึ้น โดยส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทไม่ว่าจะเป็นศูนย์รับแจ้ง 1669 จากเดิมทีที่ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุขต่อไปในอนาคตอีก 2-3 ปี องค์การบริหารจังหวัด (อบจ.)ทั่วประเทศจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องของศูนย์รับแจ้ง 1669 ในการที่จะรับเรื่องฉุกเฉินของพี่น้องประชาชนแบบบูรณาการในทุกเรื่อง และในส่วนของงค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นอบต.หรือเทศบาลตำบล หรือเทศบางเมืองเทศบาลนคร รวมถึงเมืองพัทยาก็จะได้รับการผลักดันให้มีหน่วยฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน โดยสพฉ.จะมีการกำหนดมาตรฐานกลางไว้ให้

เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะกล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ท้องถิ่นที่เป็นขนาดเล็กประมาณ 7,000 กว่าตำบลมีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากที่สุดซึ่งท้องถิ่นเองก็จะมีภาคีเครือข่ายเช่นมูลนิธิที่จะสามารถเข้ามาร่วมกันทำงานได้ ส่วนเรื่องของโรงพยาบาลสพฉ.ได้หารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาให้การแพทย์ฉุกเฉิน ณ ห้องฉุกเฉินมีบริการที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของการลดความแออัดในห้องฉุกเฉินโดยใช้กลไกหรือกลวิธีในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินมาใช้เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบริการก่อน ซึ่งเรื่องนี้ได้ขยายผลไปยังโรงพยาบาลเอกชนซึ่งก็มีนโยบายในเรื่องของโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิ์ทุกที่ที่เราดำเนินการร่วมกับรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีเพื่อเป็นการช่วยชีวิตในช่วง 72 ชั่วโมงแรก

 

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า นอกจากนี้แล้วสพฉ.กำลังพัฒนาในเรื่องของจิตอาสาซึ่งเป็นข้าราชบริพารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่พระองค์ท่านอยากส่งเสริมให้คนไทยทุกคนมีจิตอาสาและอยากช่วยสนับสนุนโครงการนี้และขยายผลร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรต่างๆ ในการที่จะพัฒนาให้มีจิตอาสากว่า 10 ล้านคนมีความรู้เรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉินมีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การทำ CPR และการใช้งานเครื่อง AED ซึ่งจะเป็นประเด็นที่สำคัญในการพัฒนาต่อยอดห่วงโซ่ของการรอดชีวิต โดยห่วงที่ 1 คือภาคประชาชนรับรู้และโทรสายด่วน 1669 ได้ ห่วงที่ 2 คือการทำ CPR เพื่อช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินได้ ห่วงที่ 3 คือการใช้งานเครื่อง AED เป็น ห่วงที่ 4 คือหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นหน่วยที่ประจำที่โรงพยาบาล หรือประจำที่ท้องถิ่นที่มีคุณภาพและห่วงที่ 5 คือการดูแลในห้องฉุกเฉินหรือในโรงพยาบาล โดย สพฉ.จะผลักดันในเรื่องนี้ในการดูแลประชาชนในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่เชื่อว่าจะมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

 
แหล่งข่าว : กลุ่มสื่อสารองค์การ
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000231
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001