สื่อประชาสัมพันธ์การแพทย์ฉุกเฉิน
สพฉ. เตือน ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ควรอพยพไปในพื้นที่ปลอดภัย ย้ำมีโอกาสรอดแต่ต้องรับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง

สพฉ. เตือน ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ควรอพยพไปในพื้นที่ปลอดภัย ย้ำมีโอกาสรอดแต่ต้องรับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง

 ในภาวะน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ นอกจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประสบภัยจะลืมไม่ได้ ก็คือโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมอย่างรอบคอบ อาทิ ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โดยโรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่อันตราย และเป็นโรคที่คนไทยเสียชีวิตในลำดับต้นๆ  คือ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้หญิง และเป็นอันดับสามในผู้ชาย  ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือทันกาล แม้จะไม่เสียชีวิต แต่ส่วนใหญ่ก็มักเกิดความพิการ

เมื่อย้อนดูสถิติมีไม่น้อยที่ผู้ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน ต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย  โดยในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม – 5พฤศจิกายน นับตั้งแต่เปิดศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติ ข้อมูลใน 28 จังหวัด ที่ประสบพิบัติภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา  มีการแจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับโรคนี้ถึง 165 ครั้ง  และด้วยสภาวะการณ์เช่นนี้ ทำให้การช่วยเหลือของทีมแพทย์ หรือทีมกู้ชีพมักเข้าถึงลำบาก ต้องใช้เวลา หรือต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหลายต่อ เช่น ทางเรือส่งต่อ ทางรถยีเอ็มซี สุดท้ายส่งต่อทางรถพยาบาล ก่อนที่จะถึงโรงพยาบาล ซึ่งบางครั้งอาจจะสายเกินไป

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) แนะนำว่า สำหรับผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เฉียบพลัน หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ทางที่ดีควรอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยง เพราะไม่คุ้มหากเกิดภาวะฉุกเฉิน แต่หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงญาติควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการจะมีอาการปากเบี้ยว กล้ามเนื้อ แขน หรือขา ไม่มีแรงฉับพลัน พูดไม่ชัด  ควรรีบแจ้งสายด่วน 1669 โดยด่วน เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์

เพราะผู้ป่วยโรคนี้หากได้รับการรักษาที่ทันเวลา คือภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ จะมีโอกาสรอดชีวิตสูง โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิดฉีดผ่านทางหลอดเลือดดำ (Intravenous recombinant tissue-type plasminogen activator) โดยเหตุที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากภายใน 3 ชั่วโมงแรกเซลล์สมองยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร ซึ่งตัวยานี้จะกระจายเข้าไปละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในสมองทันที ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองดังเดิม ส่งผลให้สมองฟื้นตัวจากอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เช่น แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดที่เกิดขึ้น โดยอาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วเห็นผลได้ในราว 1 ชั่วโมงหลังให้ยา และตัวยานี้ช่วยลดอัตราเสียชีวิตและลดความพิการลงได้ถึงร้อยละ 30

 

 

 

 

 

 

 

ผู้จัดทำ : กลุ่มสื่อสารองค์การ
สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000039084
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001