คลังข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน
ชู “เชียงใหม่” พื้นที่ต้นแบบพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

 

สพฉ. ชู “เชียงใหม่” พื้นที่ต้นแบบพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เผยเร่งการจัดการให้มีบริการการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมในทุกพื้นที่ เพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างทันท่วงที

 

การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีแล้ว อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญ รวมทั้งทำให้การเจ็บป่วยรุนแรงขึ้นโดยไม่สมควร ดังนั้นการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานและทันท่วงทีจึงเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมาตรการสำคัญในการพัฒนาเรื่องนี้คือต้องเร่งจัดให้มีบริการการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมในทุกพื้นที่

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแหงชาติ (สพฉ.)กล่าวว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน ย่อมต้องการได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่รวดเร็ว ทันกาล ดังนั้น สพฉ. จึงต้องเร่งหาแนวทางในการปิดช่องว่างในเรื่องนี้โดยเร่งจัดให้มีการบริการการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุม ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่ช่วยทำให้การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ในปีงบประมาณที่ผ่านมาภาพรวมของประเทศมีความครอบคลุม ร้อยละ 87 จากเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 85 โดยมีจังหวัดที่ผ่านเกณฑ์55 แห่ง มีจังหวัดที่เฝ้าระวัง 7 แห่ง และมีจังหวัดที่ควรปรับปรุง15 แห่ง หนึ่งในนั้นคือ จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย แต่จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด จนทำให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาตัวอย่างที่จะเป็นต้นแบบให้กับหลายๆพื้นที่ต่อไป

สำหรับการแก้ปัญหาเพื่อปิดช่องว่างให้มีความครอบคลุมนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ร่วมกันทั้ง25 อำเภอ โดยหาพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่ที่ยังไม่มีความครอบคลุม จากนั้นดำเนินการผลักดัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการอบรมการจัดตั้งหน่วยบริการในทุกพื้นที่ ส่งผลให้อำเภอสารภี จากเดิมที่มีความครอบคลุมเพียงร้อยละ 66.7 ปัจจุบันมีการพัฒนาจนมีความครอบคลุมการบริการการแพทย์ฉุกเฉินร้อยละ100 อำเภอหางดง จากเดิมมีความครอบคลุมเพียงร้อยละ 66.7ปัจจุบันมีการพัฒนาจนมีความครอบคลุมการบริการการแพทย์ร้อยละ 80 ซึ่งทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


 นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีการพัฒนาปิดช่องว่างระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเรื่องอื่นๆ ด้วย อาทิ การแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669  โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายริมถนนให้มีความถี่มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ มีการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารเพื่อการติดต่อภายในส่วนเรื่องอื่นๆ ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่แล้วอาทิ การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติภายใน นาที  ได้ร้อยละ 80.01 โดยมีค่าเฉลี่ยในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน 4.11 นาที ก็จะต้องพัฒนาให้อยู่ในระดับที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่รวมถึงนักท่องเที่ยวมีความอุ่นใจในการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000410
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001