คลังข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน
โทร-แชต เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจราจร

 

การ เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีปัจจัยหลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยด้านความพร้อมของผู้ขับขี่เป็นปัจจัยสำคัญนอกเหนือจากปัจจัยด้าน สภาวะแวดล้อมและสภาพของรถ โดยเมื่อเห็นภาพข่าวการเกิดอุบัติเหตุเรามักจะนึกถึงผู้ขับขี่ที่อยู่ในสภาพ มึนเมา หลับในหรือไม่ชำนาญเส้นทาง แต่ไม่เคยตระหนักถึงว่า การเสียสมาธิในขณะขับรถ ก็นับเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดย พฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ ได้แก่ การคุยกับผู้อื่น ไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารคนอื่นในรถหรือคุยและแชตโทรศัพท์มือถือ การปรับเครื่องเสียงหรือวิทยุ การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม การแต่งหน้า แต่งตัว ฯลฯ

 
 เชื่อหรือไม่!!!! ว่าสถิติจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้โทรศัพท์มือถือนั้น มีมากกว่าการเมาแล้วขับเสียอีก โดยในสหรัฐอเมริกาเกิดอุบัติเหตุมากกว่า 1.6 ล้านครั้งต่อปี หรือเฉลี่ย พันครั้งต่อวัน 


โดยจากผลการวิจัยของสถาบันกิจการขนส่งเวอร์จิเนียร์เทคฯ พบว่าการพยายามพิมพ์ข้อความ ขณะขับรถจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงสุด มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้อง ถนนสูงกว่าปกติถึง 23 เท่าเลยทีเดียว  


โดยการพิมพ์ข้อความ ขณะขับรถ ซึ่งผู้ขับจะไม่ได้มองถนนเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ4.6 วินาที ซึ่งนานพอที่รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว55 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 88.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สามารถทำระยะทางได้เท่ากับหนึ่งสนามฟุตบอล ในขณะที่การสนทนามือถือระหว่างขับรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เพียง 1.3 เท่าของผู้ขับทั่วไป 


สำหรับ การใช้อุปกรณ์เสริมชนิดต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสโทรศัพท์ เช่น การใช้บลูทูธเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์กับเครื่องเสียงในรถ หรือการใช้เสียงสั่งการเพื่อรับสายหรือโทรฯออกจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด อุบัติเหตุจากปัจจัยด้านกายภาพและปัจจัยด้านการมองเห็นลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการคุยในขณะขับรถไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในรถคัน เดียวกันหรือคุยโทรศัพท์โดยจะใช้อุปกรณ์เสริมจะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิและ ทำให้ตอบสนองต่อสัญญาณจราจรและเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ช้าลงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นกว่าผู้ที่มีสมาธิจดจ่อ อยู่กับการขับขี่ 

 

จาก การวิจัยพบว่าการสูญเสียสมาธิขณะขับขี่เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของการเกิด อุบัติเหตุ โดยการโทรศัพท์ขณะขับรถไม่ว่าจะใช้มือถือโทรศัพท์หรือใช้อุปกรณ์เสริม ก็มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงพอ ๆ กัน คือผู้ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติ เท่า และผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติเท่า จะเห็นว่าการใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องใช้มือถือโทรศัพท์ใน ขณะขับรถ แม้จะลดความเสี่ยงจากปัจจัยทางกายภาพได้ แต่ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเสียสมาธินั้นยังสูงอยู่มาก 

ทั้งนี้สำหรับข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัย คือหากขับรถในระยะทางใกล้ ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทรฯออก  จนกว่าจะถึงที่หมาย หากขับรถระยะทางไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทรฯ หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือจำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนา ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้นที่สุด หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลในทุกกรณี เท่านี้ก็เป็นการช่วยลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง

 

สัญลักษณ์นี้จดลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553

[Login]

  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เนื้อหาและรูปที่ปรากฎในเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เพื่อสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสุนนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ pr@niems.go.th โทรศัพท์ : 0-2872-1600

จำนวนผู้เข้าชมสะสม
000000000575
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
000000000001